การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SSE)

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SSE)

micropile-spun-micro-spunmicropile-SSE-สปันไมโครไพล์

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SSE) นะครับ

เนื่องจากในช่วงเวลาทีผ่านมานั้นผมสังเกตเห็นว่ามีแฟนเพจหลายๆ คนชอบมีคำถามคล้ายๆ กันในทำนองที่ว่า เพราะเหตุใดทุกๆ ครั้งที่จะทำการออกแบบงานหลังคาโครงสร้างเหล็กเรามักจะพบว่าในมาตรฐานในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กจึงได้ทำการกำหนดเกณฑ์จำกัดค่าการโก่งตัวเฉพาะกรณีของ นน บรรทุกแบบ จร และ นน บรรทุกแบบ คงที่ กระทำร่วมกับ จร แต่กลับไม่มีกรณีของ นน บรรทุกแบบ คงที่ บ้าง ? และ ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วหากจะต้องทำการตรวจสอบค่าการโก่งตัวที่เกิดขึ้นเนื่องในโครงสร้างหลังคาเหล็กจากกรณี นน บรรทุก คงที่ เพียงอย่างเดียว เราควรที่จะใช้เกณฑ์อะไรในการตรวจสอบ ?

ดังนั้นในวันนี้ผมจึงจะขออนุญาตมาทำการพูดและอธิบายถึงประเด็นๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านได้รับทราบคำตอบร่วมกันนะครับ

เอาคำถามข้อที่ 1 ก่อน เพราะเหตุใดเมื่อต้องการที่จะทำการออกแบบโครงสร้างหลังคาเหล็กในมาตรฐานในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กจึงได้ทำการกำหนดเกณฑ์จำกัดค่าการโก่งตัวเฉพาะกรณีของ นน บรรทุกแบบ จร และ นน บรรทุกแบบ คงที่ กระทำร่วมกับ จร แต่กลับไม่มีกรณีของ นน บรรทุกแบบ คงที่ บ้าง ?

สาเหตุที่มาตรฐานในการออกแบบวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กส่วนใหญ่ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์จำกัดค่าการโก่งตัวในกรณีของ นน บรรทุกแบบ คงที่ นั่นเป็นเพราะ มาตรฐานการออกแบบนั้นไม่ได้มองว่าในกรณีของ รร บรรทุกแบบ คงที่ นั้นเป็นกรณี นน บรรทุกที่ซีเรียสอะไร กลับมองว่า นน บรรทุกประเภทนี้จะเกิดขึ้นในช่วงตอนต้นเพียงเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดการโก่งตัวชนิดนี้ขึ้น เราก็อาจทำการค้ำท้อง หรือ ทำการดีด ให้ตัวโครงสร้างเหล็กนั้นคืนกลับสู่สภาพที่เราต้องการได้นั่นเองนะครับ

คำถามข้อที่ 2 หากจะต้องทำการตรวจสอบค่าการโก่งตัวที่เกิดขึ้นเนื่องในโครงสร้างหลังคาเหล็กจากกรณี นน บรรทุก คงที่ เพียงอย่างเดียว เราจะใช้เกณฑ์อะไรในการตรวจสอบ ?

คำตอบ คือ สำหรับกรณีหลังคาเหล็กที่มีการติดตั้งงานฝ้าจะมีการ ฉาบ หรือ ไม่มีการฉาบ ผิวของตัวฝ้าก็แล้วแต่ ให้เราใช้เกณฑ์ในการตรวจสอบเนื่องจากกรณีของ นน บรรทุก คงที่ เท่ากับ L/720 และ สำหรับกรณีหลังคาเหล็กที่ไม่มีการติดตั้งงานฝ้า ให้เราใช้เกณฑ์ในการตรวจสอบเนื่องจากกรณีของ นน บรรทุก คงที่ เท่ากับ L/360 นะครับ เพื่อนๆ งงกันมั้ยครับว่าค่าทั้ง 2 นี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ? ผมจะขอทำการอธิบายโดยการยก ตย เลยก็แล้วกันนะครับ

เริ่มจากกรณีที่เป็นหลังคาเหล็กที่มีการติดตั้งงานฝ้า โดยจะมีการ ฉาบ หรือ ไม่มีการฉาบ ผิวของตัวฝ้าก็แล้วแต่ก่อนนะครับ

หากเราใช้เกณฑ์การตรวจสอบของกรณีของ นน บรรทุก จร เพียงอย่างเดียวเท่ากับ L/360 และ เกณฑ์การตรวจสอบของกรณีของ นน บรรทุก คงที่ กระทำร่วมกันกับ จร เท่ากับ L/240 เราจะสามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ได้ว่า

LL → L/360
DL + LL → L/240
DL → L/X

ดังนั้นเราทราบว่า

DL + LL = DL + LL

จากนั้นทำการแทนค่าข้างต้นลงไปในสมการข้างบนจะได้

L/X + L/360 = L/240
L/X = L/240 – L/360
L/X = 0.001389L
X = L/0.001389L
X = 720

หากเราใช้เกณฑ์การตรวจสอบของกรณีของ นน บรรทุก จร เพียงอย่างเดียวเท่ากับ L/240 และ เกณฑ์การตรวจสอบของกรณีของ นน บรรทุก คงที่ กระทำร่วมกันกับ จร เท่ากับ L/180 เราจะสามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ได้ว่า

LL → L/240
DL + LL → L/180
DL → L/X

ดังนั้นเราทราบว่า

DL + LL = DL + LL

จากนั้นทำการแทนค่าข้างต้นลงไปในสมการข้างบนจะได้

L/X + L/240 = L/180
L/X = L/180 – L/240
L/X = 0.001389L
X = L/0.001389L
X = 720

สำหรับกรณีหลังคาเหล็กที่ไม่มีการติดตั้งงานฝ้าบ้างนะครับ

หากเราใช้เกณฑ์การตรวจสอบของกรณีของ นน บรรทุก จร เพียงอย่างเดียวเท่ากับ L/180 และ เกณฑ์การตรวจสอบของกรณีของ นน บรรทุก คงที่ กระทำร่วมกันกับ จร เท่ากับ L/120 เราจะสามารถเขียนสมการความสัมพันธ์ได้ว่า

LL → L/180
DL + LL → L/120
DL → L/X

ดังนั้นเราทราบว่า

DL + LL = DL + LL

จากนั้นทำการแทนค่าข้างต้นลงไปในสมการข้างบนจะได้

L/X + L/180 = L/120
L/X = L/120 – L/180
L/X = 0.00278L
X = L/0.00278L
X = 360

ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ ที่อาจจะเคยมีข้อสงสัยกันในประเด็นคำถามข้อนี้จะมีความเข้าใจ และ คลายความสงสัยกันแล้วนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN

REF: www.facebook.com/bhumisiam

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449