การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็กรูปพรรณ (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SSE)

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็กรูปพรรณ (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SSE)

สปันไมโครไพล์-ไมโครไพล์-micro-pile-spunpile-spunmicro

มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องหลักการในการออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กรูปพรรณว่า

“เมื่อทำการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณชิ้นส่วนที่เป็น คาน-เสา (BEAM-COLUMN ELEMENT) เหตุใดเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการคำนวณปรับแก้ ค่าตัวคูณขยายค่า (MAGNIFICATION FACTOR) ช่วยอธิบายให้ทราบหน่อยจะได้มั้ยครับ ?”

ผมถือว่าคำถามข้อนี้เป็นคำถามที่มีความน่าสนใจดีนะครับ ดังนั้นในวันนี้เราจะมาพูดคุยและไขข้อข้องใจประการนี้ด้วยกันนะครับ

ในหลายๆ ครั้งที่เราทำการคำนวณหา ค่าตัวคูณขยายค่า แล้วเราอาจจะพบว่าค่าๆ นี้จะทำให้ ค่าหน่วยแรงดัด (FLEXURAL STRESS) ที่คำนวณได้ในขั้นตอนของการออกแบบนั้นมีค่าที่สูงมากๆ ซึ่งบางครั้งเราก็จะพบว่าค่านี้มีค่าที่สูงเกินจริงเสียด้วยซ้ำไปนะครับ เช่น กรณีเมื่อโมเมนต์ดัดที่ปลายด้านหนึ่งของโครงสร้าง คาน-เสา นั้นมีค่าเป็น ศูนย์ แล้วก็ทำให้ค่าการโก่งตัวของโครงสร้าง คาน-เสา ที่เกิดขึ้นมีค่าประมาณ ½ หรือ กึ่งหนึ่ง ของค่าที่เราคำนวณได้จากสมการ ค่าตัวคูณขยายค่า เท่านั้น หรือ กรณีที่โครงสร้าง คาน-เสา นั้นถูกกระทำด้วย ค่าโมเมนต์ดัด ที่มีค่าที่เท่าๆ กัน และ ยังมีทิศทางเดียวกันที่ปลายทั้งสองของโครงสร้างอีกด้วย ซึ่งเราจะเรียกสภาวะนี้ว่า โครงสร้างนี้เกิดการโก่งตัวแบบ DOUBLE CURVATURE โดยเพื่อนๆ สามารถที่จะดู ตย กรณีเช่นนี้ได้จากรูปโครงสร้าง คาน-เสา กข ที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ได้นะครับ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้ว ตัวโครงสร้าง คาน-เสา ของเราก็จะเกิดการดัดในทิศทางตรงกันข้ามกัน และ จะทำให้ค่าการโก่งตัวที่กึ่งกลางของความยาวโครงสร้าง คาน-เสา นั้นมีค่าเป็นศูนย์ และ ยังทำให้ค่าหน่วยแรงดัดที่ตำแหน่งดังกล่าวนั้นมีค่าเป็นศูนย์อีกด้วย เป็นต้นนะครับ

หากเราพบเจอกับเหตุการณ์เช่นนี้มาตรฐาน EIT จึงได้ทำการกำหนดให้ผู้ออกแบบควรทำการปรับแก้ ค่าตัวคูณขยายค่า ด้วยค่าปรับแก้ Cm เสียก่อนนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำให้ ค่าหน่วยแรงดัด ที่คำนวณโดยใช้สมการปฏิสัมพันธ์ (INTERACTION DIAGRAM) นั้นมีค่าที่สอดคล้องกันกับความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

ซึ่งสมการปฏิสัมพันธ์นั้นจะสามารถถูกเขียนได้อยู่ในรูป

fa / Fa + Cm fb / [(1 – fa / Fe’) Fb] ≤ 1.00

โดยที่สมการข้างต้นนั้นจะมีเงื่อนไขอยู่ว่า สัดส่วนระหว่างค่า Cm ส่วนด้วย 1 – fa / Fe’ นั้นจะต้องมีค่า มากกว่า หรือ เท่ากับ 1.00 เสมอนะครับ

หวังว่าเมื่อเพื่อนๆ ได้อ่านบทความนี้แล้วจะเข้าใจประเด็นและเหตุผลของการที่เราควรต้องทำการคำนวณค่าๆ นี้กันมากยิ่งขึ้นนะครับ ยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันต่อนะครับ เพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้ครับ

REF: www.facebook.com/bhumisiam

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449