การก่อสร้างคานชั้นล่างสุดของตัวบ้าน ถ้าหากใช้การก่ออิฐบล็อกใต้ท้องคานโดยตรงแทนที่การเทด้วย LEAN CONCRETE ถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมหรือไม่

เวลาบ่ายแบบนี้ ก็มาเจอกับ Mr.เสาเข็ม พร้อมความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม อีกเช่นเคยนะครับ วันนี้จะเป็นหัวข้อ การก่อสร้างคานชั้นล่างสุดของตัวบ้าน ถ้าหากใช้การก่ออิฐบล็อกใต้ท้องคานโดยตรงแทนที่การเทด้วย LEAN CONCRETE ถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมหรือไม่
spun micro pile micro spun

ถ้าหากเราว่ากันตามหลักการทางด้านวิศวกรรมที่ถูกต้องแล้ว การทำงานหล่อคานที่ชั้นล่างนั้นจะอนุญาตให้ทำได้ก็ต่อเมื่อฐานรองรับที่ทำขึ้นเพื่อรับท้องคานนั้นมีความมั่นคง เกิดการทรุดตัวที่ไม่แตกต่างกัน มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการรับ น้ำหนัก ที่จะเกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่การทำงานในตอนต้นไปจนกระทั่งกำลังของคอนกรีตในคานที่ชั้นล่างนี้จะสามารถรับกำลังได้ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ครับ มีความง่ายต่อการถอดแบบ และ การบ่มคอนกรีต

ส่วนสาเหตุของการเลือกใช้การก่อด้วยอิฐบล็อกแทนที่การเทด้วย LEAN CONCRETE ก็อาจเนื่องด้วยดินอาจจะมีความแข็งแรงมากอยู่แล้ว เช่น ดินที่อยู่ในสถานที่ก่อสร้างนั้นเป็นดินเดิม ไม่ใช่ดินถม หรือ เป็นดินที่มีอยู่ทั่วไปในแถบภาคอีสาน หรือ ภาคเหนือ เป็นต้น ส่วนคำถามที่ว่าการก่ออิฐบล็อกนั้นจะสามารถทำงานได้เร็วกว่าการเทด้วย LEAN CONCRETE จริงหรือเปล่า อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ ครับ ข้อนี้น่าจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ มากกว่า เช่น ฝีมือความชำนาญส่วนตัวของช่าง หรือ ความยากง่ายของขั้นตอนความสะดวกในการผสม LEAN CONCRETE เป็นต้น ส่วนเรื่องการถอดแบบและการบ่มคอนกรีตสำหรับการก่อด้วยอิฐบล็อกนั้น คิดว่าเราสามารถที่จะปรับใช้ได้นะครับ เช่น อิฐบล็อกนั้นจะมีราคาวัสดุที่ค่อนข้างถูก ทำให้ ผู้รับเหมา บางคนอาจจะไม่ทำการถอดแบบนี้ออกมาเลย อาจจะทิ้งแบบไปเลยก็ได้ สำหรับการบ่มคอนกรีตก็เช่นกันครับ เราอาจจะใช้วัสดุใดๆ ที่มีความทึบน้ำ หรือ บางคนอาจจะใช้ PLASTIC SHEET รองใต้ฐานก่อนการเทคอนกรีต ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้น้ำที่ทำการบ่มคอนกรีตนี้ไหลหายไปไหนตอนที่ทำการบ่มคอนกรีต เป็นต้นครับ

ดังนั้นคำตอบง่ายๆ ของปัญหาข้อนี้คือ อิฐบล็อก ที่เราทำการก่อขึ้นมาแทนที่จะใช้การบดอัดด้วยดินและทำการเทด้วย LEAN CONCRETE นั้นจะมีความแข็งแรงเทียบเท่ากันได้หรือไม่นั่นเองครับ

ที่ผมพูดแบบนี้ก็เพราะว่า ต่อให้บริเวณใต้ท้องคานที่ชั้นล่างนี้ ผู้รับเหมา ได้ทำการบดอัดด้วยดินและทำการเทด้วย LEAN CONCRETE จริง อะไรจะเป็นสิ่งที่มายืนยันความมั่นคงและแข็งแรงนั้นละครับ ?

ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้ยก ตัวอย่าง ไปนี้เราจะเลือกใช้วิธีการใดก็ต้องขึ้นอยู่กับการ คำนวณ ทั้งสิ้นครับ โดยเราจำเป็นที่จะต้องทราบข้อมูลต่างๆ เสียก่อน เช่น คุณสมบัติด้านการรับกำลังแบกทานของดิน น้ำหนัก บรรทุกที่ต่างๆ ทั้ง น้ำหนักคงที่ และ น้ำหนักจร ที่กระทำอยู่ด้านบนของแบบหล่อ เป็นต้น เพราะ หากเราทำการเปรียบเทียบตัวดินและ LEAN CONCRETE กับ การก่อด้วยอิฐบล็อกแล้ว หากว่าวิธีการทั้ง 2 นี้ให้ความมั่นคงและแข็งแรงในระดับที่เท่ากันก็ต้องถือว่าสามารถใช้ได้ทั้ง 2 วิธี ถูกต้องใช่มั้ยครับ ?

สรุป นะครับ หากเพื่อนๆ เจอปัญหาเดียวกันอยู่นี้ผมอยากที่จะขอให้คำแนะนำดังนี้นะครับ

(1) ไม่ว่าวิธีการใดเราก็ควรจะต้องให้วิศวกรผู้ควบคุมงานเป็นผู้คำนวณและตัดสินใจให้จะดีที่สุดครับ เพราะ เมื่อให้วิศวกรดูแลเรื่องๆ นี้ให้เค้าจะทำการคำนวณโครงสร้างแบบนี้ตามหลักการของ BEAM ON ELASTIC FOUNDATION นะครับ หรือ หากวิศวกรท่านนั้นมีประสบการณ์ในการทำงานที่สูงมากๆ ก็อาจจะไม่ทำการคำนวณ แต่ อาจจะตัดสินใจบนพื้นฐานของประสบการณ์ในการทำงานเป็นเกณฑ์ก็ไม่ได้ผิดกติกาข้อใดครับ

(2) หากเราจะเลือกใช้วิธีการใดก็แล้วแต่ ขอให้เราคำนึงถึงความมั่นคง เกิดการทรุดตัวที่ไม่แตกต่างกัน มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการรับ นน ที่จะเกิดขึ้น มีความง่ายต่อการถอดแบบ และ การบ่มคอนกรีต เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ

(3) สุดท้าย เราควรต้องดูตามข้อกำหนดที่ได้ระบุเอาไว้ใน แบบ หรือ สัญญาการก่อสร้าง นะครับว่า ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบ หรือ ผู้ควบคุมงาน ได้ทำการกำหนดเอาไว้ในสัญญาหรือแบบก่อสร้างหรือไม่ เพราะ หากว่าได้มีการกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เราในฐานะของผู้ทำการก่อสร้างก็ควรที่จะต้องทำตามที่ได้มีการกำหนดหรือระบุเอาไว้นะครับ เพราะ ถือว่าในแบบที่ใช้หรือสัญญาที่ได้ทำกันเอาไว้ได้ทำการกำหนดเอาไว้ชัดเจนตั้งแต่แรกอยู่แล้วนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1504311959614924

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449