การแก้ไขสำหรับกรณีที่เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจนเป็นผลทำให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY ของเสาเข็มในตัวโครงสร้างของฐานรากนั้นไม่ตรงกันกับตำแหน่งของตอม่อ

การแก้ไขสำหรับกรณีที่เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจนเป็นผลทำให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY ของเสาเข็มในตัวโครงสร้างของฐานรากนั้นไม่ตรงกันกับตำแหน่งของตอม่อ

spun micro pile micro spun

จริงๆ แล้วปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานเสาเข็มตอกนั้นอาจมีด้วยกันมากมายหลายประการนะครับ เช่น แรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการตอกที่เกิดขึ้นกับอาคารข้างเคียง เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ หรือ เสาเข็มเกิดการแตกหัก เป็นต้น

โดยหากในขั้นตอนของการตอกเสาเข็มนั้นเกิดการแตกหัก หรือ เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไป เราก็อาจจะมีวิธีในการแก้ไขได้ด้วย 3 หลักการดังต่อไปนี้

(1) การตอกเสาเข็มแซม
หลักของการทำการตอกเสาเข็มแซม หรือ หมุนฐานราก คือ เราต้องพยายามทำให้จุดศูนย์ถ่วงของเสาเข็มนั้นกลับมาอยู่ตรงกับตำแหน่งเสาตอม่อนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะป้องกันการเยื้องศูนย์ไปของเสาเข็มที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ค่าโมเมนต์ทั้งในตัวโครงสร้างของฐานราก และ เสาตอม่อ ออกมาไม่ตรงตามที่ผู้ออกแบบเดิมได้ทำการออกแบบเอาไว้ สำหรับในกรณีที่เราต้องทำการตอกเสาเข็มแซมด้วยจำนวนเสาเข็มหลายๆ ต้นจะเป็นต้นเหตุทำให้ต้องทำการขยายขนาดของฐานรากจนเป็นเหตุให้ต้องเพิ่มปริมาณเหล็กเสริมด้วย ซึ่งด้วยเหตุนี้เองนะครับที่จะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมาก

(2) การหมุนฐานราก
หลักการนี้จะใช้ได้เฉพาะกับฐานรากในอาคารที่มีขนาดเล็ก หรือ ไม่ใช่อาคารสูงนะครับ พูดให้ชัดก็คือ วิธีการนี้ใช้ได้เฉพาะกับกรณีที่ฐานรากนั้นตองรับแรงกระทำเฉพาะในแนวดิ่งเท่านั้น โดยการหมุนฐานรากจะมี ข้อดี คือ เสาเข็มกลุ่มใหม่จะมีตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY อยู่ตรงกันกับตำแหน่งของเสาตอม่อ ทำให้แรงปฏิกิริยาในเสาเข็มนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปแต่จะมี ข้อเสีย คือ จะต้องใช้เสาเข็มใหม่แทนที่เสาเข็มเก่าซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองขึ้นนะครับ

(3) การทำคานยึดรั้ง
วิธีการนี้จะเหมาะกับกรณีที่เกิดค่าการเยื้องศูนย์มากๆ และ พบว่าหากปล่อยให้ตัวฐานรากต้นนั้นๆ ต้องรับโมเมนต์ที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ไปแล้วตัวฐานรากอาจจะเกิดการพลิกคว่ำได้ อีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ไข คือ การทำคานยึดรั้ง (TRANSFER BEAM) ระหว่างฐานรากเดี่ยวฐานหนึ่งกับฐานรากเดี่ยวต้นถัดไป ซึ่งการทำเช่นนี้ก็จะเป็นการทำให้ฐานรากเดี่ยวนั้นกลายเป็นฐานรากร่วมนะครับ โดยการทำคานยึดรั้งนี้อาจทำเป็นคานยึดรั้งแบบวางพาดอย่างง่ายเหมือนในรูป (A) หรือ จะทำเป็นคานยึดรั้งแบบปลายยื่นเหมือนในรูป (B) ก็ได้นะครับ

เอาเป็นว่าในวันพรุ่งนี้ผมจะขอมาพูดถึงประเด็นๆ นี้ต่อให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1502842719761848

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449