ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING

ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING

micropile spun micropile ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม เสาเข็มตอก

ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING เนื่องจากการ OUT OF PLANE ของชิ้นส่วนโครงสร้างรับ แรงอัด คือค่า kL/r = 200 และ ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING เนื่องจากการ OUT OF PLANE ของชิ้นส่วนโครงสร้างรับ แรงดึง คือค่า kL/r = 300 ซึ่งคำตอบที่ผมตอบกับน้องท่านนี้ไปในเบื้องต้น คือ เมื่อผมต้องทำการออกแบบโครงถักเหล็กเมื่อใด ผมก็จะทำการคำนวณด้วยวิธีการโดยประมาณด้วยการใช้ค่า kL/r = 250 ครับ เพราะว่าค่าๆ นี้ก็คือค่าเฉลี่ยระหว่าง 200 ถึง 300 นะครับ

kL/r (average) = (200+300)/2 = 250

พอผมอธิบายแบบนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะมีความสงสัยว่าเพราะสาเหตุใดว่าผมจึงอาศัยวิธีการโดยประมาณในการคำนวณ โดยที่ใช้ค่า kL/r = 250 ซึ่งจะมีค่ามากกว่า 200 แต่ ก็ยังไม่เกิน 300 เรามาดูรูปที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ

เริ่มจากรูปบนก่อนนะครับ หากว่าโครงสร้างโครงถักของเรานั้นเป็นช่วงเดียว (SIMPLE SPAN TRUSS) หากเราดูแผนภาพแรงดัดจะพบได้ว่าในแผนภาพแรงดัดนั้นจะมีแต่โมเมนต์แบบ บวก ซึ่งนั่นหมายความว่าในทุกๆ ชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD จะต้องรับ แรงอัด ทั้งหมด และ ในทุกๆ ชิ้นส่วนที่เป็น BOTTOM CHORD จะต้องรับ แรงดึง ซึ่งตามปกตินั้นในโครงถักของเราจะต้องมี แป ที่จะทำหน้าที่ในการยึดรั้งที่ด้านบนในส่วนที่เป็น TOP CHORD อยู่แล้วนะครับ

ดังนั้นการคำนวณเรื่อง LATERAL BRACING สำหรับกรณีก็จะเหลือเพียงแค่ชิ้นส่วน BOTTOM CHORD ที่ทำหน้าที่เป็น TENSION MEMBER ซึ่งหากเราก็จะทำการคำนวณค่า kL/r เพียงแค่ 300 ก็เพียงพอแล้วนะครับ โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำค่า kL/r = 200 ซึ่งเป็นข้อจำกัดของชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เป็น COMPRESSION MEMBER มาใช้เลยนะครับ เพราะฉะนั้นการที่เราใช้ค่า kL/r = 250 สำหรับกรณีนี้ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความ CONSERVATIVE ให้กับการออกแบบของเราด้วยนะครับ

เรามาดูรุปล่างกันต่อนะครับ หากว่าโครงสร้างโครงถักของเรานั้นเป็นช่วงที่มีความต่อเนื่อง (CONTINUOUS SPAN TRUSS) หากเราดูแผนภาพแรงดัดจะพบได้ว่าในแผนภาพแรงดัดนั้นจะมีทั้งโมเมนต์แบบ บวก ซึ่งนั่นหมายความว่าหากเราพิจารณาเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD ชิ้นส่วนๆ ใหญ่นั้นจะทำหน้าที่รับ แรงอัด และ ชิ้นส่วนๆ น้อยจะทำหน้าที่รับ แรงดึง ซึ่งก็จะเหมือนกับกรณีของรูปบนที่ตามปกติในโครงถักนั้นจะต้องมี แป ที่จะทำหน้าที่ในการยึดรั้งที่ด้านบนในส่วนที่เป็น TOP CHORD อยู่แล้วนะครับ ดังนั้นเราก็จะสามารถตัดประเด็นในเรื่องของการคำนวณชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD ไปได้เลยนะครับ

ต่อมาหากเราพิจารณาเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็น BOTTOM CHORD กันบ้างซึ่งชิ้นส่วนๆ ใหญ่นั้นจะทำหน้าที่รับ แรงดึง และ ชิ้นส่วนๆ น้อยจะทำหน้าที่รับ แรงอัด ซึ่งกรณีปกติของโครงถักนั้นเราจะมี แป ที่จะทำหน้าที่ในการยึดรั้ง เฉพาะ ที่ด้านบนในส่วนที่เป็น TOP CHORD เพียงเท่านั้นนะครับ ดังนั้นหากเราต้องการที่จะทำการคำนวณหาว่าระยะของ LATERAL BRACING นั้นควรเป็นเท่าใด ก็จะเหลือเพียงแค่ชิ้นส่วนที่เป็น BOTTOM CHORD เพียงเท่านั้นนะครับ

ดังนั้นในเมื่อการคำนวณเรื่อง LATERAL BRACING สำหรับกรณีก็จะเหลือเพียงแค่ชิ้นส่วน BOTTOM CHORD ซึ่งก็จะเหมือนกันกับกรณีของรูปบน แตกต่างกันที่กรณีของรูปล่างนั้นชิ้นส่วนๆ ใหญ่จะทำหน้าที่เป็น TENSION MEMBER ซึ่งหากเราก็จะทำการคำนวณค่า kL/r เพียงแค่ 300 ก็เพียงพอแล้วนะครับ และ ก็จะเหลือเพียงชิ้นส่วนๆ น้อยเท่านั้นนะครับที่จะทำหน้าที่เป็น COMPRESSION MEMBER ซึ่งหากเราก็จะทำการคำนวณโดยวิธีการละเอียด เราก็ต้องใช้ค่า kL’/r เท่ากับ 200 มาใช้นะครับ (เฉพาะชิ้นส่วนที่ได้รับการไฮไลต์ไว้ด้วยสีเหลืองนะครับ) ซึ่งในการที่เราจะต้องทำการคำนวณโดยเปลี่ยนระยะ L ให้เป็น L’ นั้นก็ต้องถือว่ามีความยุ่งยากในระดับหนึ่งเลยนะครับ จากเหตุผลทั้งหมดที่ผมได้ทำการอธิบายไปข้างต้น เราก็จะเห็นได้นะครับว่าการที่เราใช้ค่า kL/r = 250 นั้นถือว่ามีความเหมาะสมเพียงพอ เพราะ จะช่วยให้ขั้นตอนในการคำนวณ และ การออกแบบการค้ำยันทางด้านข้างของตัวโครงถักนั้นมีความสะดวก และ รวดเร็วมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัวเลยนั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน397-2524เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449

ID LINE :
LINE ID1 = bhumisiam
LINE ID2 = 0827901447
LINE ID3 = 0827901448
LINE ID4 = bsp15