คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)

คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More

การเทลีน (LEAN CONCRETE) เรื่องพื้นฐานงานก่อสร้างที่ไม่ควรละเลย

เทลีนหรือการเทคอนกรีตเพื่อปรับผิวหน้าดิน นิยมทำเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับการผูกเหล็กและการเทคอนกรีตในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สำหรับเทรองก้นหลุมป้องกันความสกปรกแก่คอนกรีตและเหล็กเสริม เช่น ดินโคลน น้ำใต้ดิน ช่วยให้ทำงานได้สะดวก ไม่เฉอะแฉะ การเทลีน (Lean Concrete) ยังช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นด้วย เช่นการผูกเหล็กเพื่อทำโครงสร้างมีระดับติดกับพื้นดินอย่างเช่นฐานรากหรือคานคอดิน เนื่องจากเหล็กเสริมควรจะมีคอนกรีตหุ้มอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอีกด้วย

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต…มีสาเหตุมาจากอะไร จะแก้ปัญหาได้โดยวิธีไหน

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต เป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น ฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัสดุที่มีความแข็งหรือจากการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต ทำให้อนุภาคของส่วนละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา โดยมีสาเหตุหลักดังนี้ การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไป และมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้า … Read More

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE COLUMNS)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงตามแนวศูนย์กลางแกนเสา … Read More

เครื่องสั่นคอนกรีต (CONCRETE VIBRATOR) เครื่องมือขาดไม่ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

ในงานคอนกรีตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอัดแน่นคอนกรีตก่อนที่จะแข็งตัว เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังอัดที่ดี ทำให้เนื้อคอนกรีตอัดแน่นสม่ำเสมอ ไม่เป็นรูโพรง ไม่มีแตกตัวหรือแยกตัวออกจากกัน มีการยึดเกาะยึดเหนี่ยวที่ดีของเหล็กที่ผูกไว้เป็นแบบหล่อ หรือเป็นเหล็กเส้นที่เสริมระหว่างคอนกรีต วิธีการอัดแน่นคอนกรีต สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ – การเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugation) – การกระทุ้ง (Tamping) – การตำ (Rodding) – การเขย่า … Read More

1 2