การก่อสร้างคานชั้นล่างสุดของตัวบ้าน ถ้าหากใช้การก่ออิฐบล็อกใต้ท้องคานโดยตรงแทนที่การเทด้วย LEAN CONCRETE ถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมหรือไม่

เวลาบ่ายแบบนี้ ก็มาเจอกับ Mr.เสาเข็ม พร้อมความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม อีกเช่นเคยนะครับ วันนี้จะเป็นหัวข้อ การก่อสร้างคานชั้นล่างสุดของตัวบ้าน ถ้าหากใช้การก่ออิฐบล็อกใต้ท้องคานโดยตรงแทนที่การเทด้วย LEAN CONCRETE ถูกต้องตามหลักการทางด้านวิศวกรรมหรือไม่ ถ้าหากเราว่ากันตามหลักการทางด้านวิศวกรรมที่ถูกต้องแล้ว การทำงานหล่อคานที่ชั้นล่างนั้นจะอนุญาตให้ทำได้ก็ต่อเมื่อฐานรองรับที่ทำขึ้นเพื่อรับท้องคานนั้นมีความมั่นคง เกิดการทรุดตัวที่ไม่แตกต่างกัน มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการรับ น้ำหนัก ที่จะเกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่การทำงานในตอนต้นไปจนกระทั่งกำลังของคอนกรีตในคานที่ชั้นล่างนี้จะสามารถรับกำลังได้ตามที่วิศวกรผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบเอาไว้ครับ มีความง่ายต่อการถอดแบบ และ การบ่มคอนกรีต ส่วนสาเหตุของการเลือกใช้การก่อด้วยอิฐบล็อกแทนที่การเทด้วย … Read More

การก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเกิดปัญหาเรื่องเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์

สวัสดีครับ วันนี้ Mr.เสาเข็ม จะมาแชร์ความเรื่องในการก่อสร้าง เกี่ยวกับ การก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเกิดปัญหาเรื่องเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ วันนี้ผมจะขอเริ่มต้นโดยการพูดถึงหลักการโดยทั่วๆ ไปในการพิจารณาออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากทั่วๆ ไปก่อนก็แล้วกันนะครับ หลักการในการทำงานออกแบบฐานรากโดยทั่วๆ ไปนั้น ในขั้นต้นนั้นวิศวกรผู้ออกแบบจะทำการออกแบบให้กลุ่มของโครงสร้างเสาเข็มให้มีความสมมาตร อันเนื่องมาจากการคำนวณในกรณีนี้จะทำให้ขั้นตอนในการออกแบบนั้นไม่ค่อยยุ่งยากและซับซ้อนเท่าใดนะครับ ในกรณีที่ฐานรากนั้นมีความสมมาตรดังรูป แรงปฏิกิริยาในเสาเข็มนั้นจะสามารถคำนวณได้จากสมการ Ri = P/n ± My X … Read More

วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้

วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ โดยการหมุนรากฐาน วันนี้ผมได้ทำการเขียนรูป ตย มาเพื่อที่จะทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันในการอธิบายครั้งนี้ด้วยอีกเช่นเคยนะครับ โดยการที่เราจะทำการแก้ไขฐานรากตามวิธีการที่ผมจะแนะนำให้แก่เพื่อนๆ ตาม ตัวอย่าง ในวันนี้มี วิธีในการทำงาน และ ข้อแม้ ในเบื้องต้นดังต่อไปนี้นะครับ (1) หากความผิดพลาดในการตอกเสาเข็มนั้นเป็นไปตามกรณีนี้ ทางผู้ควบคุมงานจำเป็นที่จะต้องทำการแจ้งปัญหานี้กับทางผู้ออกแบบเสียก่อนนะครับ เพราะ การที่เราจะแก้ไขปัญหาตามวิธีการนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบฐานรากโดยการจำลองจุดรองรับไว้เป็นแบบ … Read More

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์

สวัสดีครับ Mr.Spunman มาอีกแล้วนะครับ วันนี้ จะมาแนะนำ ปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์กันนะครับ ปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ของ ภูมิสยามซัพพลาย นั้นมีความยาวแนวราบ 3 เมตร  และมีความสูง 3 เมตร ส่วนของความกว้างของปั่นจั่นมีความกว้างเพียงแค่ 1 เมตรเท่านั้น จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าทำงานในพื้นที่จำกัดได้โดยสะดวก … Read More

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่

คานคอดิน (Ground Beam) คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน (Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 … Read More

อิฐมวลเบา (LIGHTWEIGHT CONCRETE)

อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, … Read More

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (CORROSION INHIBITOR)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น สารยับยั้งการเกิดสนิม (Corrosion Inhibitor) … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก … Read More

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (CONCRETE COVERING) มีระยะต่ำสุดที่เท่าไหร่

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมนั้น ACI กำหนดให้ระยะช่องว่างน้อยที่สุดระหว่างเหล็กเสริมเท่ากับค่าที่มากกว่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม DB, 2.5 ซ.ม. และ 1.33 เท่าของขนาดมวลรวมโตสุด โดยเหล็กนอนในคานทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มโดยเหล็กปลอก ระยะหุ้มคอนกรีตต่ำสุดที่ … Read More

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เรื่องพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง … Read More

1 29 30 31 32 33