Pcr หรือ CRITICAL LOAD หรือว่า BUCKLING LOAD

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามน้องวิศวกรท่านเดิมต่อเนื่องจากโพสต์ที่แล้วของผมนะครับ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ผมได้กล่าวถึงเรื่อง Pcr หรือ CRITICAL LOAD หรือว่า BUCKLING LOAD ว่าเหตุใดผมถึงได้กล่าวว่าหากทำการจำลองโครงสร้างด้วย PINNED แทนที่จะเป็น SPRING ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเรา เหตุใดจึงทำให้ค่า Pcr มีค่าสูงกว่าการจำลองในแบบที่สองนะครับ ก่อนอื่นไหนๆ … Read More

โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ นักคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 17

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้บุคคลคนที่ห้า ซึ่งน่าจะเป็นท่านสุดท้ายสำหรับการนำประวัติของท่านมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ในช่วงนี้นะครับ ซึ่งเพื่อนๆ ก็คงจะทราบดีว่าบุคคลที่มีความสำคัญต่องานวิศวกรรมของเรานั้นยังมีอีกมากโข หากจะนำมาเล่าทั้งหมดก็คงไม่ไหว ที่ผมนำมานั้นเป็นเพียงหยิบมือเดียว ซึ่งเป็นท่านที่มีผลงานสำคัญๆ ต่อวิศวกรรมกลศาสตร์การคำนวณของเราเท่านั้นเองนะครับ โดยที่บุคคลใที่ผมนำประวัติของท่านมาฝากในวันนี้ท่านเป็นผู้รู้ เป็นนักวิชาการ และ เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ต้องถือว่าเก่งมากท่านหนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 เลยก็ว่าได้ครับ งานของท่านได้ส่งอิทธิพลต่อการคำนวณทางด้านต่างๆ อย่างมากมายหลากหลายวงการมากๆ โดยที่บุคคลท่านนี้ก็คือ … Read More

“THRUST LINE” สำหรับการออกแบบโครงสร้าง คอร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยบอกกับผมว่าอยากให้ผมขยายความเกี่ยวกับเรื่อง “THRUST LINE” สำหรับการออกแบบโครงสร้าง คอร ครับ ก่อนอื่นผมขอท้าวความให้แก่เพื่อนทั่วๆ ไปให้ได้ทราบก่อนนะครับ เพื่อนท่านอื่นๆ จะได้สามารถเข้าใจให้ตรงกันได้ เรื่องๆ นี้จะอยู่ในหัวข้อ CONTINUOUS MEMBER หรือ INDETERMINATE STRUCTURES สำหรับการออกแบบโครงสร้าง … Read More

การตัดหัวเสาเข็ม หรือ PILE CUT OFF

สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่รักทุกท่าน เนื่องจากเมื่อวันก่อนไปตลุยดูงานที่ไซต์มาและทางเจ้าของงานนำเคสของการทำงานเคสหนึ่งมาปรึกษาผม เห็นว่าน่าสนใจและน่าที่จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ จึงนำมาบอกเล่าเก้าสิบกันนครับ เรื่องที่ว่านี้ก็คือเรื่อง การตัดหัวเสาเข็ม หรือ PILE CUT OFF นั่นเองนะครับ ก่อนอื่นผมขออธิบายคร่าวๆ แก่เพื่อนๆ บางคนก่อนนะครับว่าเหตุใดจึงต้องมีการทำงานตัดหัวเสาเข็ม ? การตัดหัวเสาเข็มนั้นจะทำก็ต่อเมื่อทางผู้รับจ้างได้ทำการสอบถามระดับพื้นชั้นล่างของอาคารร่วมกันกับแบบสถาปัตยกรรมและแบบวิศวกรรมโครงสร้างแล้วจะทำให้ทราบว่าตำแหน่งของฐานรากจะอยุ่ที่ระดับความสูงใด หากพบว่าระดับหัวของเสาเข็มของเรานั้นอยุ่สูงกว่าระดับที่ต้องการจึงจำเป็นที่จะต้องทำการตัดหัวเสาเข็มนี้ทิ้งไปครับ เพื่อนๆ เคยสงสัยมั้ยครับว่าเหตุใดเค้าถึงใช้คำว่า … Read More

ข้อพึงปฎิบัติ หรือ GENERAL SPECIFICATION สำหรับในการทำงานพื้น POST-TENSIONED ชนิด BONDED SYSTEM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สืบเนื่องจากโพสต์เมื่อวานที่ผมได้อธิบายไปเกี่ยวกับเรื่องของการต่อทาบเหล็กทางกล หรือ การทำ COUPLER ในงาน คสล ผมพบว่ามีเพื่อนๆ ให้ความสนใจมากพอสมควรนะครับ เนื่องจากในงานเดียวกันนี้ที่ผมได้ไปทำการควบคุมงานจะมีการใช้ระบบพื้น คอร ชนิดดึงลวดทีหลังแบบมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งผมโดยที่ได้อธิบายรายละเอียดและวิธีในการทำแก่เจ้าของด้วย ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์จึงนำมาแชรืต่อให้แก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ ต่อไปนี้ถือเป็นข้อพึงปฎิบัติ หรือ GENERAL SPECIFICATION สำหรับในการทำงานพื้น … Read More

ประมาณค่า STIFFNESS จากค่าโมเมนต์ความเฉื่อยประสิทธิผล I eff และ ค่าพื้นที่หน้าตัดประสิทธิผล A eff

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากเมื่อวันก่อนที่ผมได้อธิบายไปเกี่ยวกับเรื่องการคำนวณหาค่าการเสียรูปในโครงสร้าง คสล และเมื่อวานนี้มีน้องวิศวกรท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้พอดี ผมเห็นว่าเนื้อหานั้นน่าสนใจจึงตัดสินใจนำมาบอกเล่าต่อแก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ น้องท่านนี้ถามผมว่า จากที่ผมได้ระบุว่าวิธีการประมาณค่า STIFFNESS ตาม มยผ 1302 หน้าที่ 50 โดยใน มยผ ได้ระบุเอาไว้ว่า การกำหนดค่า … Read More

การออกแบบโครงสร้าง “เสาเหล็กรับแรงดึง”

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในช่วงสองวันที่ผ่านมานั้นผมไม่ได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ เหมือนเช่นเคยเพราะผมติดภารกิจงาน “ช่วย” คือ ผมต้องไปช่วยงานแก้ไขงานออกแบบอยู่งานหนึ่ง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ จึงขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ เรื่องๆ นี้คือ น้องท่านนี้พบปัญหาในการออกแบบโครงสร้าง “เสาเหล็กรับแรงดึง” งงมั้ยครับ ? ผมไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ เพราะเสาต้นนี้รับแรงดึงจริงๆ เพื่อนๆ หลายๆ … Read More

การคำนวณหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างที่มีหน้าตัดเป็นแบบ CRACKED SECTION

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน แอดมินต้องขอโทษเพื่อนๆ ด้วยนะครับ วันนี้เพิ่งเลิกเรียนในวิชา ENERGY METHODS IN APPLIED MECHANICS เลยมาพบกันช้าไปสักหน่อย วันนี้ผมจะมาแสดงขั้นตอนในการคำนวณหาค่าการเสียรูปในโครงสร้างที่มีหน้าตัดเป็นแบบ CRACKED SECTION ตามที่ผมได้รับปากเพื่อนๆ เอาไว้นะครับ โดยผมคิดว่าวิธีการที่ดีที่สุดก็คือสมมติปัญหาขึ้นมาและทำให้เพื่อนๆ ได้ดูจะเป็นการดีที่สุดครับ ปัญหามีอยู่ว่า เราต้องทำการออกแบบหน้าตัดคาน … Read More

ความเป็นไปได้ในการออกแบบให้จุดต่อของฐานราก F3 ให้เป็นแบบ PINNED

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สืบเนื่องจากโพสต์ของผมเมื่อวันก่อนเกี่ยวกับเรื่องทิศทางการวางเสาเข็มในฐานราก F3 และ มีประเด็นๆ หนึ่งที่มีเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งได้มาสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องความเป็นไปได้ในการออกแบบให้จุดต่อของฐานราก F3 ให้เป็นแบบ PINNED นั้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ซึ่งผมก็ได้ตอบเค้าในเบื้องต้นไปบ้างแล้วน่ะครับ ผมจึงเห็นว่าน่าจะมีประโยขน์หากผมทำการอธิบายประเด็นนี้เพิ่มเติมสักนิด ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนนะครับว่าประเด็นที่ผมจะพูดถึงต่อไปนี้ ผมถือว่าเป็นการที่พวกเราเสวนา หรือ DISCUSS ร่วมกันนะครับ มิได้มีประเด็นใดที่เป็นเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องเลย ผมขอเริ่มทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนตามลำดับละกันนะครับ … Read More

การประมาณการขนาดหน้าตัดของคาน คสล สำหรับโครงสร้างที่มีความยาวช่วงที่สูง หรือ LONG SPAN

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้ผมจะมาขอให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ วิศวกรเกี่ยวกับเรื่องการประมาณการขนาดหน้าตัดของคาน คสล สำหรับโครงสร้างที่มีความยาวช่วงที่สูง หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า LONG SPAN นะครับ ก่อนอื่นผมต้องขอให้เล่าให้ทราบก่อนนะครับ ตามมาตรฐาน EIT หรือ ACI ได้กำหนดไว้ว่า ในการออกแบบหน้าตัดคาน คสล หากไม่ต้องการที่จะทำการตรวจสอบค่าการโก่งตัวของโครงสร้าง … Read More

1 21 22 23 24 25 26 27 33