แรงดันของน้ำใต้ดิน หรือ UPLIFT FORCE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องด้วยเมื่อวานนี้มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่ง จริงๆ เรารู้จักกัน และ เป็นเพื่อนรักของผมมายาวนานมากตั้งแต่สมัยเรียน ปวช ที่ช่างมีน ท่านได้ทักมาหาผม และ ได้ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการออกแบบสระว่ายน้ำ ผมก็ได้ให้คำแนะนำไปตามที่เห็นสมควร พร้อมกับกำชับถึงสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ออกแบบอย่างเราๆ จะลืมไม่ได้เลย คือ ปัจจัยที่ผู้ออกแบบหลายๆ คนมักจะลืมคำนึงถึงในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างสระว่ายน้ำก็คือเรื่อง แรงดันของน้ำใต้ดิน หรือ … Read More

ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุดรองรับให้เป็นแบบฐานรากยืดหยุ่น (ELASTIC FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตเพื่อนๆ มาอธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นที่เราจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุดรองรับให้เป็นแบบฐานรากยืดหยุ่น (ELASTIC FOUNDATION) ซึ่งน่าที่จะพออธิบายถึงหลักการและเหตุผลให้แก่เพื่อนๆ ได้พอทราบว่าเหตุใดเราจึงจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยหลักการนี้ได้นะครับ เพื่อนๆ อาจจะมีความสงสัยเกิดขึ้นนะครับว่าเพราะเหตุใด เราจึงจำเป็นที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงหลักการออกแบบวิธีการนี้กัน ? และเมื่อใดกันที่เราควรจะนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ หรือ วิเคราะห์โครงสร้างของเรา ? คำตอบก็ง่ายๆ และตรงไปตรงมานะครับ คือ หากเราจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างชนิดที่มีจุดรองรับนั้นมีความแข็งแกร่งไม่มากนัก … Read More

ความจำเป็นในการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนในแผ่นพื้นคอนกรีตแบบไร้คาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ในเรื่อง ความจำเป็นในการเสริมเหล็กรับแรงเฉือนในแผ่นพื้นคอนกรีตแบบไร้คาน กันนะครับ โดยปกติแล้วหากเราทำการออกแบบแผ่นพื้นคอนกรีตแบบไร้คาน เนาจำเป็นจะต้องทำการออกแบบให้กำลังของแผ่นพื้นนั้นมีค่าสูงกว่าค่า นน บรรทุกแบบเพิ่มค่าที่กระทำกับแผ่นพื้นสำหรับทุกๆ MODE OF FAILURE นะครับ หนึ่งในนั้นก็คือ TWO WAY SHEAR FAILURE หรือ … Read More

วิธีในการถ่ายน้ำหนัก ของแผ่นพื้นลงบนคานรองรับทั้ง 4 ด้าน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่ถามผมมาเกี่ยวกับเรื่องกรณีที่เรามีแผ่นพื้นที่มีการถ่าย นน แบบ 2 ทิศทาง โดยประเด็นนั้นอยู่ที่วิธีในการถ่าย นน ของแผ่นพื้นลงบนคานรองรับทั้ง 4 ด้าน นะครับ ก่อนอื่นผมขอเล่าให้ฟังถึงรายละเอียดที่มาที่ไปของประเด็นที่น้องท่านนี้ถามผมมาก่อนนะครับ ประเด็นมีอยู่ว่าน้องวิศวกรท่านนี้ได้ทำการถ่าย นน จากพื้นลงมายังคานที่ทำหน้าที่ีรองรับทั้ง 4 ด้าน แต่ … Read More

ข้อกำหนดในการออกแบบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันี้ผมมีเรื่องที่จะมาแชร์ประสบการณ์กันกับเพื่อนๆ ประการหนึ่งที่หากดูเผินๆ แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องเป็นราวตามปกติที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ ต้องพบต้องเจอ แต่ ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนหลายๆ ท่านที่กำลังเริ่มต้นสนใจที่จะทำงานในสายงานของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ เรื่องนี้สืบเนื่องหลังจากที่ในวันนี้ผมเดินทางไปพบลูกค้ากับสถาปนิกคู่ใจของผมตลอดทั้งวัน พอกลับมาก็ด้วยความเหนื่อยล้าทั้งวันก็ตั้งใจจะว่าจะนั่งทำแต่งานเอกสารเบาๆ ให้สบายๆ จะได้ไม่เหน็ดเหนื่อยอะไรมากมายเพราะวันนี้ก็เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว สักพักนึงผมก็ได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งจากเจ้าหน้าที่เขตท่านหนึ่งที่เพิ่งเคยได้ร่วมงานกันเป็นครั้งแรก มีใจความของประโยคสนทนาดังนี้ คือ เจ้าหน้าที่ท่านนี้ต้องการให้ผมเข้าไปที่เขตเพื่อดำเนินการแก้ไขรายการคำนวณที่ได้ยื่นขออนุญาตไป เนื่องจากเอกสารที่เคยยื่นไปก่อนหน้านี้ไม่ถูกต้อง ผมก็ได้เอ่ยถามไปว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ? … Read More

ฐานรากแผ่(ต่อ)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สำหรับในโพสต์ล่าสุดของผมเกี่ยวกับเรื่องฐานรากแผ่นั้น ในตอนแรกผมตั้งใจที่จะโพสต์ๆ นั้นเป็นโพสต์สุดท้ายสำหรับช่วงเวลานี้ แต่ พอโพสต์ไปแล้วก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี และ ได้มีคำถามต่อเนื่องตามมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องๆ นี้ผมจึงอยากที่จะขอโพสต์ต่อเนื่องเกี่ยวกับฐานรากแผ่ไปก่อนนะครับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบคำถามให้แก่เพื่อนวิศวกรที่ได้ถามผมมานั่นเองนะครับ คำถามที่เพื่อนวิศวกรได้สอบถามผมต่อเนื่องมาจากโพสต์ของเมื่อวาน คือ หากเราจะทำการก่อสร้างฐานรากแผ่วางบนดินในบริเวณที่ลาดเชิงเขาซึ่งหมายความว่าลักษณะของชั้นดินจะไม่ใช่เป็นแนวระดับในแนวราบเหมือนกรณีทั่วๆ ไปของการทำฐานรากแผ่นะครับ ในการก่อสร้างฐานรากแผ่วางตัวอยู่บนแนวพื้นที่มีความเอียงลาดนั้น ฐานรากตัวริมที่จะติดกับพื้นที่ลาดเอียงนั้น เราจะต้องตรวจสอบดูว่าระยะจากขอบนอกสุดส่วนบนของฐานราก (ระยะ V … Read More

ฐานรากแผ่

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอโพสต์ตอบคำถามแก่วิศวกรที่หลังไมค์มาถามผมต่อเนื่องจากโพสต์ช่วงนี้ของผมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องฐานรากแผ่นะครับ ซึ่งโพสต์ๆ นี้น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายของเรื่องๆ นี้ก่อนนะครับ แต่ หากเพื่อนๆ มีข้อสงสัยและต้องการจะสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องฐานรากแผ่ก็สามารถที่จะถามข้อสงสัยมายังผมได้เลยนะครับ หากผมพบว่าคำถามน่าสนใจและมีเวลาว่างผมจะรีบตอบข้อซักถามให้นะครับ คำถามวันนี้คือ หากเราเป็นคนทำงานก่อสร้างฐานรากบนดิน โดยในแบบระบุความลึกมาตรฐานที่เราต้องทำการวางปลายฐานรากเอาไว้แล้ว แต่ เมื่อเปิดหน้าดินมาพบว่าเราไม่สามารถที่จะขุดดินลงไปได้ลึกตามระดับที่กำหนดไว้ในแบบได้ อาจเนื่องด้วยดินมีความแข็งมากๆ และ ตอนทำการทดสอบดินไม่ว่าจะการทำ BORING LOG … Read More

ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงนี้ผมมีงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างตัวหนึ่งที่ต้องไปทำการก่อสร้าง ณ เขต พท ริมชายทะเลของจังหวัดชลบุรี ในการออกแบบผมได้เลือกทำการกำหนดให้ใช้คอนกรีตชนิดพิเศษในงานก่อสร้าง ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์หากนำความรู้ตรงนี้มาเผยแพร่แก่ทุกๆ ท่านด้วย จึงเป็นที่มาของโพสต์ในวันนี้เกี่ยวกับเรื่อง ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเลนะครับ เพื่อนๆ เคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าเหตุใดเราจึงมักที่จะได้ยินอยู่บ่อยๆ … Read More

นั่งร้าน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะนำความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นั่งร้าน ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้างมาฝากให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ นั่งร้านสำหรับงานก่อสร้างที่พบเห็นกันได้ทั่วไปตามสถานที่ก่อสร้าง คือ เป็นอุปกรณ์ที่มีเอาไว้เพื่อรองรับน้ำหนักของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งของ ผู้ปฏิบัติงาน ณ สถานที่ก่อสร้าง โดยที่นั่งร้านนี้มักจะวางอยู่สูงเหนือระดับทั่วๆ ไปที่คนปกติไม่สามารถจะปฏิบัติงานได้โดยสะดวก ดังแสดงตัวอย่างอยู่ในรูปที่แนบมานะครับ หากเพื่อนจะต้องเป็นผู้ควบคุมงานและจะต้องไปทำการสำรวจตรวจสอบงานนั่งร้าน ณ สถานที่ก่อสร้างสิ่งที่เพื่อนๆ ควรใส่ใจเป็นพิเศษจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ … Read More

มยผ 9902-59 มาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสวนสนุก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้เพิ่งทำงานเสร็จนะครับจึงกลับมาพบกับเพื่อนๆ อีกเช่นเคย ถึงแม้จะดึกไปหน่อย แต่ ก็มาพบกันเป็นประจำในทุกๆ วันอย่างที่ตั้งใจนะครับ วันนี้ผมมีมาตรฐานตัวใหม่ของกรมโยธาฯ หรือ ที่เรานิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า มยผ มาแนะนำให้กับเพื่อนๆ นะครับ มาตรฐานตัวนี้มีชื่อว่า มยผ 9902-59 มาตรฐานด้านความปลอดภัยของเครื่องเล่นในสวนสนุก นั่นเองครับ … Read More

1 20 21 22 23 24 25 26 33