การใส่เหล็กปลอกเข้าไปในจุดต่อระหว่างคานและเสา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ   หลังจากงานประชุมผมได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ มากมายในไทเป ซึ่งแต่ละสถานที่ต้องขอบอกเอาไว้เลยว่ามีความน่าประทับใจมากๆ เพราะเรื่องแผ่นดินไหวในบ้านเมืองเค้าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ … Read More

โครงสร้างค้ำยันแบบรวมศูนย์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ วันนี้ผมเริ่มการนำเสนอผลงานวิจัยเป็นวันแรกจึงยุ่งมากๆ ไม่ค่อยมีเวลาไปไหนเลยแต่ขนาดไม่มีเวลา แค่ผมเดินขึ้นลงในอาคารที่มีการประชุมวิชาการก็มีโอกาสได้พบเจอโครงสร้างดีๆ ซึ่งผมจะนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้นั่นเองครับ … Read More

การวิเคราะห์โครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ที่ผมได้ทำการโพสต์แชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทบทวนความรู้ในการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อการเตรียมตัวที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพในเรื่อง กรณีของการวิเคราะห์หาค่าการเสียรูปของโครงสร้างพร้อมๆ กับการวิเคราะห์โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบ STATICALLY INDETERMINATE ซึ่งในตอนท้ายตามที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบกันว่าเมื่อได้ทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปในแนวราบ ณ จุดรองรับ B ผลที่คำนวณได้จะมีค่าเท่ากับ 21.11 มม ซึ่งในมุมมองของผม … Read More

วิธีการออกแบบ ระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้น แบบทางเดียว และสองทาง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ โดยที่ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงกรณีของการออกแบบชนิดทั่วๆ ไปในเรื่อง วิธีในการออกแบบระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้นทั้งแบบทางเดียวและสองทางหลังจากที่เราได้ปริมาณของเหล็กเสริมใช้งานมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบและทำความเข้าใจกันนะครับ   แผ่นพื้นที่มีช่วงพาดเป็นแบบทิศทางเดียวที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM ONE … Read More

หลักในการแก้ปัญหากรณีที่เราต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้าง ที่มีลักษณะไม่สามารถทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีอย่างง่าย

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งหนึ่งในบ่ายวันจันทร์แบบนี้ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมตัวสอบเพื่อที่จะได้ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรโยธา มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ในขณะนี้ผมก็ได้พาเพื่อนๆ ทุกคนไปทำการทบทวนความรู้กันถึงเรื่องท้ายๆ ของการวิเคราะห์โครงสร้างกันแล้ว ไม่ทราบว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไรกันบ้างครับ น่าที่จะมีความเข้าใจกันมากขึ้นแล้วใช่หรือไม่ครับ ?   ก่อนหน้านี้ผมพาเพื่อนๆ เรียนรู้ถึงกระบวนการในการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อที่จะหาค่าการเสียรูปต่างๆ ภายในโครงสร้างประเภทต่างๆ ไปเป็นที่เรียบแล้วและไม่นานมานี้เองผมก็ได้พาเพื่อนๆ ไปทบทวนกันเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างที่มีลักษณะไม่สามารถที่จะทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีอย่างง่ายตามหลักการของสถิตศาสตร์ไปแล้วด้วย ดังนั้นเนื้อหาในวันนี้ก็อาจจะเป็นกรณีๆ … Read More

เหล็กเสริมต้านทานต่อแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้นสำหรับกรณีของแผ่นพื้นสองทาง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับเพื่อนๆ เราไม่ได้พบกันในหัวข้อนี้นานหลายสัปดาห์เลย ก็ไม่เป็นไรนะครับ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างต่อถึงเรื่อง เหล็กเสริมต้านทานต่อแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้นสำหรับกรณีของแผ่นพื้นสองทางให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันต่อหลังจากที่ติดค้างเพื่อนๆ ในเรื่องนี้อยู่หลายสัปดาห์เลย   หลักการในการคำนวรหาค่าแรงดัดสำหรับการออกแบบสำหรับแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นสองทาง นั้นจะมีความยุ่งยากมากกว่ากรณีของแผ่นพื้นทางเดียวอยู่เล็กน้อยแต่ก็ไม่ได้ถือว่ามากมายอะไรนักนะครับ … Read More

ความสัมพันธ์ของมุมข้างในสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ร่วมสนุกกัน โดยที่คำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะง่ายมากๆ เลย ทั้งนี้รายละเอียดของคำถามประจำสัปดาห์นี้มีดังต่อไปนี้ครับ จากรูปในโพสต์ๆ นี้เพื่อนๆ จะเห็นถึงความสัมพันธ์ของมุมข้างในสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมหลายๆ มุมเลย ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้ให้ไว้ในปัญหาข้อนี้จงทำการหาว่า ขนาดของมุม A นั้นจะมีค่าเท่ากับกี่องศา ? #โพสต์ของวันเสาร์ #การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์ #คำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของมุมในรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม   … Read More

วิธีในการคำนวณอย่างง่ายหรือ SIMPLFY METHOD พร้อมกับข้อจำกัดในการใช้งานต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมยังจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนอยู่นะครับ ตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงประเด็นที่ผมได้ตอบคำถามของรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งซึ่งผมได้อธิบายมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาแล้วและวันนี้ น่าที่จะ เป็นโพสต์สุดท้ายของการตอบคำถามข้อนี้แล้ว โดยที่ผมจะนำเอาวิธีในการคำนวณอย่างง่ายหรือ SIMPLFY METHOD พร้อมกับข้อจำกัดในการใช้งานต่างๆ ของเจ้าวิธีการนี้มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ทุกคน สำหรับกรณีที่เพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนอาจที่จะบอกว่า จะทำอย่างไรดี อยากที่จะทำสามารถทำการคำนวณได้ด้วยมือเพราะไม่ค่อยที่จะสะดวกใช้จุดรองรับแบบสปริงและวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์เหมือนกับที่ผมได้อธิบายและยกตัวอย่างไปนะครับ … Read More

คานรับแรงดัด “แบบปกติ” และคานรับแรงดัด “แบบลึก”

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เหมือนเช่นเคยในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการตั้งคำถามประจำสัปดาห์ โดยที่คำถามประจำสัปดาห์ในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อในวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ โดยที่รายละเอียดของปัญหาที่ผมได้เลือกหยิบยกเอามาถามเพื่อนๆ ในวันนี้นั้นค่อนข้างที่จะมีความง่ายดายมากๆ เลย ซึ่งจะมีรายละเอียดของคำถามดังต่อไปนี้ครับ จะเห็นได้ว่าคานทั้ง 3 ในรูปๆ นี้จะมีขนาดของคานและเสาที่ทำหน้าที่รองรับคาน รวมไปถึงระยะความยาวช่วงระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของจุดรองรับที่เท่าๆ กัน โดยจะแตกต่างกันเฉพาะลักษณะของน้ำหนักบรรทุกที่กระทำอยู่บนคาน ดังนั้นผมอยากที่จะสอบถามเพื่อนๆ ว่า คานหมายเลขใดที่ถูกจัดว่ามีพฤติกรรมเป็นคานรับแรงดัด “แบบปกติ” … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในวันนี้ผมยังจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ อยู่นะครับ เนื่องจากเมื่อเย็นของเมื่อวานนี้ได้มีน้องนักศึกษาท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาปรึกษาผมและได้แจ้งว่าอยากจะรบกวนให้ช่วยอธิบายและแสดงวิธีในการแก้ปัญหาในกรณีที่โครงสร้างๆ คานยื่นโครงสร้างหนึ่งซึ่งมีรูปทรงแปลกๆ ดังรูปที่แสดง นั่นก็คือค่าความสูงของหน้าตัดจะมีค่าไม่คงที่ตลอดความยาวของคานนั่นเอง ซึ่งน้องได้แจ้งว่าต้องนำเอาคำตอบไปใช้ค่อนข้างด่วนซึ่งเรียนตามตรงผมไม่อยากที่จะสนับสนุนให้น้องทำแบบนี้เท่าใดนักเพราะเกรงว่าจะทำให้พวกเราหลายๆ คนเอาเยี่ยงอย่างได้แต่เอาเป็นว่าผมทำให้ครั้งนี้เป็นกรณีพิเศษก็แล้วกันเพราะเห็นว่าน้องมีความจำเป็นต้องนำคำตอบในคำถามข้อนี้ไปใช้ในโครงงานปริญญานิพนธ์ของน้อง เอาเป็นว่าเรามาดูรายละเอียดของคำถามกันเลยดีกว่านะครับ มีคานยื่นที่มีความยาวของช่วงยื่นเท่ากับ 400 มม หรือ 40 ซม หรือ 0.40 … Read More

1 9 10 11 12 13 14 15 33