บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น … Read More

คอนกรีตที่ดีต้องบ่ม (ให้สุก)

เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้เองแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีคุณภาพท่ีดี มีความแข็งแรงทนทานและใช้งานได้นานต้องทำการบ่มคอนกรีตเสียก่อน ซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตต้องใช้น้ำในการผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชันทำให้คอนกรีตแข็งตัวและรับกำลังได้ ปกติแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้ภายใน 5 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการผสมน้ำ และมีกำลังเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มกำลังของคอนกรีตไม่สามารถแยกได้ด้วยการดูจากตาเปล่า คือเราไม่สามารถบอกได้ว่าคอนกรีตที่เทพื้น กับคอนกรีตที่เทคาน ส่วนใดให้กำลังสูงกว่า การจะบอกว่าคอนกรีตส่วนไหนให้กำลังสูงกว่าต้องนำไปทดสอบโดยการกดให้แตก แล้ววัดว่าคอนกรีตดังกล่าวรับกำลังได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าคอนกรีตต้องการน้ำในส่วนผสมเพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ให้มากและสมบูรณ์ท่ีสุด … Read More

คำนวณเปรียบเทียบค่าความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัย

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ หลังจากที่เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเอาประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็มในหัวข้อที่ว่า เหตุใดเวลาที่เราทำการคำนวณโครงสร้างเสาเข็มที่มีรูปทรง หรือ มีขนาดกว้างและยาว หรือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่เท่าๆ กัน … Read More

งานก่อสร้างยังนิยมใช้เสาเข็มเป็นฐานรากในงานสร้างใหม่

งานก่อสร้างยังนิยมใช้เสาเข็มเป็นฐานรากในงานสร้างใหม่ การก่อสร้างในปัจจุบันนิยมออกแบบกันให้ฐานรากลึก หนึ่งในฐานรากลึกที่ก่อสร้างกันโดยทั่วไป คือ ฐานรากที่มีเสาเข็มเป็นชิ้นส่วนของโครงสร้างฐานรากที่ติดตั้งผ่านชั้นดินที่มีกำลังการรับน้ำหนักต่ำลงไปฝังปลายอยู่ในชั้นดินที่มีกำลังรับน้ำหนักสูง และมีการทรุดตัวน้อย จึงจะเพิ่มขีดความสามารถในการรับน้ำหนักได้สูง ทำให้เสาเข็มในงานงานก่อสร้างยังคงมีการใช้งานกันมาจนถึงปัจจุบัน การก่อสร้างโครงการใหญ่ ๆ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าต้องใช้เสาเข็มเป็นฐานรากให้โครงสร้างแข็งแรง การลดต้นทุนการก่อสร้างนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของงานอยากให้เกิดขึ้น ดังนั้นควรเลือกใช้เสาเข็มที่ใช้แรงเหวี่ยง (สปัน=กรอ,หมุน,ปั่น,เหวี่ยง) ในแบบหล่อที่แข็งแรง ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย หมุนด้วยความเร็วสูง และได้รับมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ … Read More

1 91 92 93 94 95 96 97 168