ประเภทการรับกำลังของเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของภูมิสยาม
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ เมื่อประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมาผมได้ทำการโพสต์บทความในหัวข้อ วิธีในการจำแนกเสาเข็มของเราว่าเป็น เสาเข็ม“รับแรงฝืด” เป็นหลัก หรือ เสาเข็ม “รับแรงแบกทาน” เป็นหลัก และก็ได้มีคำถามๆ ที่ถามเข้ามาจากแฟนเพจท่านหนึ่งซึ่งจะมีความต่อเนื่องจากคำถามข้อดังกล่าวนั้นว่า … Read More
ตัวอย่าง การระมัดระวังไม่ให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็ก(โครงถัก)เกิดการเยื้องศูนย์ ผิดไปจากที่ทำการออกแบบไว้ในตอนแรก
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาพูดต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานที่มีความเกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญๆ ที่เราควรที่จะทำการพิจารณาเวลาที่ทำการออกแบบและการทำงานก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กแก่เพื่อนๆ กันนะครับ ซึ่งประเด็นในวันนี้ก็ยังคงเกี่ยงข้องกับเรื่อง การที่เราควรที่จะระมัดระวังมิให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากการที่เราได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในตอนแรกนะครับ โดยในวันนี้ผมหยิบยก ตย ขึ้นมาให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันด้วย เพื่อนๆ จะได้สามารถที่จะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยนะครับ อย่างที่ผมเรียนไปในโพสต์ที่แล้วนะครับว่า ที่มาของปัญหานี้ คือ เวลาที่ผู้ออกแบบทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโครงถักเหล็ก เรามักที่จะทำการจำลองให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน แต่ ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ช่างทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กมักที่จะทำงานโดยอาศัยความง่ายในการทำงานเอาไว้ก่อน … Read More
การประมาณการขนาดหน้าตัดของคาน คสล สำหรับโครงสร้างที่มีความยาวช่วงที่สูง หรือ LONG SPAN
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่านครับ วันนี้ผมจะมาขอให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ วิศวกรเกี่ยวกับเรื่องการประมาณการขนาดหน้าตัดของคาน คสล สำหรับโครงสร้างที่มีความยาวช่วงที่สูง หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า LONG SPAN นะครับ ก่อนอื่นผมต้องขอให้เล่าให้ทราบก่อนนะครับ ตามมาตรฐาน EIT หรือ ACI ได้กำหนดไว้ว่า ในการออกแบบหน้าตัดคาน คสล หากไม่ต้องการที่จะทำการตรวจสอบค่าการโก่งตัวของโครงสร้าง … Read More
วิธีการออกแบบ ระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้น แบบทางเดียว และสองทาง
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ โดยที่ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและยกตัวอย่างถึงกรณีของการออกแบบชนิดทั่วๆ ไปในเรื่อง วิธีในการออกแบบระยะการเรียงตัวของเหล็กเสริมในแผ่นพื้นทั้งแบบทางเดียวและสองทางหลังจากที่เราได้ปริมาณของเหล็กเสริมใช้งานมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบและทำความเข้าใจกันนะครับ แผ่นพื้นที่มีช่วงพาดเป็นแบบทิศทางเดียวที่มีการวางตัวอยู่บนคาน หรือ ON BEAM ONE … Read More