คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)
คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม … Read More
การออกแบบงานวิศวกรรมลมและแผ่นดินไหว
การออกแบบงานวิศวกรรมลมและแผ่นดินไหว (WIND & SEISMIC ENGINEERING DESIGN หรือ WSE) หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมลมและแผ่นดินไหว (WIND & SEISMIC ENGINEERING DESIGN หรือ WSE) นะครับ หัวข้อวันนี้จะสั้นๆ และค่อนข้างที่จะกระชับหน่อยนะครับ … Read More
ประเภทและลักษณะการทดสอบหาค่ากำลังของชั้นดิน
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ หลังจากที่เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการคั่นเนื้อหาเรื่องการทดสอบชั้นดินเพื่อที่จะพูดถึงประเด็นเรื่องราวอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆ กันไปมากพอสมควรแล้ว วันนี้ผมคิดว่าเราน่าจะกลับมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องหลักของเรากันต่อจะดีกว่า ดังนั้นในวันนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่อง ประเภทและลักษณะการทดสอบหาค่ากำลังของชั้นดิน นะครับ ประเภทและลักษณะการทดสอบหาค่ากำลังของชั้นดินนั้นสามารถที่จะทำการคัดแยกออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ … Read More
การเจาะสำรวจดิน (SOIL BORING TEST)
สภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้นอาจมีความแปรปรวนของชั้นดิน ทำให้สภาพพื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายหลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ก่อนที่วิศวกรจะทำการออกแบบฐานรากให้ดีและเหมาะสมนั้น จึงต้องจัดให้มีการเจาะสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เพื่อการวิเคราะห์ดินจากประสบการณ์และการสังเกต เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับดินในส่วนใดแล้ว จะต้องมีการวางแผนการสำรวจดิน เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย … Read More