บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

จำนวนของเสาเข็มที่จะต้องใช้ในงานการก่อสร้างบ้านหรืออาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ ในฐานะที่ผมเป็นหนึ่งในทีมงานของแอดมิน คำถามๆ หนึ่งที่ผมมักจะสังเกตเห็นได้จากอินบ็อกซ์ของทางเพจซึ่งส่วนใหญ่แล้วบรรดาแฟนเพจเหล่านั้นก็มักที่จะเป็นผู้หญิงด้วย ตัวอย่างเช่น หากอยากที่จะทำการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารหรือบ้านเรือนซึ่งจะมีขนาดพื้นที่เท่ากับ ……………………. ตารางเมตรต่อชั้น ทั้งหมดจำนวน ……………………. ชั้น อยากจะทราบว่าจะต้องใช้เสาเข็มไมโครไพล์ทั้งหมดจำนวนกี่ต้นหรืออยากจะทราบว่าจะต้องใช้ความยาวของเสาเข็มไมโครไพล์เท่ากับเท่าใดกันแน่ เป็นต้น … Read More

ความรู้ทางด้านการออกแบบต่อเติมงานวิศวกรรมโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันเสาร์แบบนี้นะครับ โดยที่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเชิญชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมสนุกตอบคำถามร่วมกัน ซึ่งคำถามในวันนี้จะเกี่ยวข้องความรู้ทางด้านการออกแบบต่อเติมงานวิศวกรรมโครงสร้างนั่นเองนะครับ โดยที่คำถามนั้นมีอยู่ว่า หากผมมีความต้องการที่จะทำการเจาะเสียบ พุกเหล็ก หรือ สลักเกลียวเคมี หรือที่เรานิยมเรียกกันในภาษาอังกฤษว่า CHEMICAL ANCHOR BOLT เข้าไปในโครงสร้างคอนกรีตเดิม โดยที่สลักเกลียวนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 มม โดยผมขอสมมติว่าผมจะใช้ตัวเคมีภัณฑ์ … Read More

แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ โพสต์ในวันนี้จริงๆ แล้วมีความเกี่ยวข้องกันกับโพสต์ที่ผมได้ทำการอธิบายแก่น้องผู้หญิงท่านหนึ่งไปเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนเกี่ยวกับเรื่อง การโก่งตัวของโครงสร้างคานรับแรงดัด ประกอบกับการที่ก่อนหน้านี้ผมเคยได้รับคำถามในทำนองนี้เข้ามาหลายครั้งแล้ว ซึ่งผมทำการสรุปใจความของคำถามข้อนี้ออกได้ดังนี้ หากเราเป็น “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง” หรือ “วิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานก่อสร้าง” หากเราจะต้องทำการวางโครงสร้างแปเหล็กไปบนโครงสร้างโครงถักที่อยู่ในระนาบเอียงตามในรูป สำหรับในกรณีที่เราไม่สามารถที่จะใช้หน้าตัดของโครงสร้างแปเหล็กให้เป็นแบบ “หน้าตัดแบบปิด” … Read More

ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างเชิงพลศาสตร์ต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ โดยที่หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิธีในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารเพื่อใช้ในการต้านทานแรงที่กระทำจากแผ่นดินไหว นั่นเองนะครับ โดยหากจะพูดกันถึงหัวข้อๆ นี้จะพบว่าเนื้อหานั้นค่อนข้างที่จะมีความยืดยาวมากพอสมควรเลย ผมจึงตัดสินใจที่จะทำการแบ่งออกเป็นตอนๆ โดยที่ในวันนี้จะเป็นตอนที่ 1 ซึ่งจะเป็นการกล่าวถึง หลักวิธีที่เราใช้ในการออกแบบ นะครับ หากเมื่อใดก็ตามที่เราพูดถึงแรงกระทำที่เกิดจากสภาวะการเกิดขึ้นของแผ่นดินไหว เราจะต้องอาศัยความพยายามสักเล็กน้อยในการที่จะจินตนาการให้ออกว่า แรงชนิดนี้เสมือนเป็นแรงที่เกิดจากการสั่นตัวของพื้นซึ่งจะทำให้อาคารนั้นเกิด การเคลื่อนที่ไปทางด้านข้าง หรือ … Read More

1 2 3 4 5 6 7 168