ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตแชร์และนำเอาบทความดีๆ ที่เขียนโดยท่านอาจารย์ ดร.พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล ผู้เขียนหนังสือ “คู่มือวิศวกรรมฐานราก” เอามาฝาก ซึ่งบทความๆ นี้จะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง “ค่าสปริง (K) ของดินสำหรับนำไปใช้ใน STRUCTURAL MODEL และความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้”

ซึ่งหากเพื่อนๆ เป็นแฟนเพจที่ติดตามอ่านบทความของผมมาโดยตลอดก็น่าจะเห็นมาโดยตลอดว่าในทุกๆ ครั้งที่ผมจะพูดถึงเกี่ยวกับเรื่อง INTERACTION ระหว่าง SOIL-PILE ผมมักจะพูดอยู่เสมอว่าเพื่อนๆ ควรที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจให้ลึกซึ้งเสียก่อนที่จะนำเอาไปใช้ เช่น นอกจากดูค่า qall แล้วยังต้องดูค่าอื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นค่า WATER CONTENT ของดินที่เหมาะสมซึ่งจะเป็นการ ENSURE ในเรื่องของค่า ALLOWABLE SETTLEMENT ที่เราจะนำมาใช้ในการคำนวณหาเป็นค่า SOIL SPRING ด้วย เป็นต้นนะครับ
https://www.facebook.com/FoundationEngineeringHandbook/posts/893701414310963
อย่างไรก็ดีผมต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล ที่ท่านได้ให้ความกรุณาเขียนบทความดีๆ แบบนี้มาแชร์ให้พวกเราได้อ่านเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ

“ค่าสปริง (K) ของดินสำหรับนำไปใช้ใน structural model และความเข้าใจผิดบางประการ”
การโมเดลโครงสร้างที่สัมผัสหรือฝังอยู่ในดินถือเป็นปัญหาแบบ soil-structure interaction ซึ่ง structural engineer มักจะแทนดินด้วยสปริงที่เหมาะสม จากนั้นจึงใส่แรงกระทำต่อโครงสร้าง (DL, LL, แรงดันดิน, แรงดันน้ำ) เพื่อหาแรงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างและนำไปออกแบบ member
 
สปริง หรือ K หน่วยเป็น kN/m เช่น 10000 kN/m แปลว่าใส่แรงกระทำต่อสปริง 10000 kN สปริงจะขยับ 1 เมตร ค่า K นี้ไม่ควรสับสนกับสัมประสิทธิ์การต้านแรงกดของดิน (Coefficient of subgrade reaction) หรือ k หน่วยเป็น kPa/m หรือ kN/m3 เช่น k = 30000 kN/m3 แปลว่าใส่ pressure กระทำ 30000 kPa ทำให้ดินทรุด 1 เมตร
k ของดินมีทั้งค่าในแนวดิ่ง kv และค่าในแนวราบ kh แต่ในที่นี้จะขอเรียกทั่วๆ ไปว่า k ซึ่งผมพบว่ายังมีเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการหา k นี้อยู่บ่อยครั้ง
 
=กรณีที่ 1=
บางท่านใช้ทฤษฎี bearing capacity เพื่อหาค่า k ในแนวดิ่ง โดยคำนวณ allowable bearing capacity หรือ qall ออกมาก่อน จากนั้นจึงหารด้วย settlement ‘ที่ท่านต้องการไม่ให้เกิน’ ออกมาเป็นค่า k เช่น qall หาได้ 400 kPa และต้องการให้ slab ทรุดไม่เกิน 5mm จึงคำนวณ k = 400/0.005 = 80000 kN/m3 ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะดินอาจไม่ได้ทรุดเพียง 5mm เมื่อมี pressure 400 kPa มากระทำ ความเข้าใจผิดนี้ทำให้หา k ได้สูงเกินไปมาก
 
=กรณีที่ 2=
ใช้ Vesic equation (หรือสมการอื่นที่มี B เป็นตัวหาร) สมมุติตัวอย่างเช่น งานขุดดินลงไปเพื่อก่อสร้าง box culvert ที่มี base slab กว้าง 10 เมตร และมีความยาวหลายสิบหรือเป็นร้อยเมตร ที่เคยเห็นคือบางท่านแทนค่า B ใน Vesic equation ด้วย 10 เมตรเลย ทำให้ได้ค่า k ต่ำมาก สปริง K จึงอ่อนเกินไป เมื่อใส่แรงกระทำ slab จึงทรุดมาก ท่านจึงใส่เสาเข็มเพื่อลดการทรุดตัวทั้งที่อาจไม่จำเป็น
 
จากรูปที่ 1 ในทางปฏิบัติแล้ว Vesic equation สามารถใช้หา k ได้ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ โดยต้องแทนค่าสติฟเนสของฐานราก และ modulus ของดิน และค่า B ให้ถูกต้อง
ในปํญหา box culvert ที่กล่าวข้างต้น การสร้าง structural model (เช่นใน SAP2000) จะทำแบบ 1 m strip ค่า B จึงเท่ากับ 1m ไปโดยปริยาย หากลองเปรียบเทียบกับกรณีของเสาเข็ม B จะเท่ากับขนาดของเสาเข็ม
 
รูปที่ 2 แสดงการทดลอง beam on elastic subgrade ของ Vesic ซึ่งพบว่าสมการ Vesic จะใช้การได้ดีต่อเมื่อ beam มีความยาวพอสมควรถึงยาวมากเท่านั้น (L >> 😎
 
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างโมเดล box culvert วางบนดินที่มีค่า k = 50000 kN/m3 สปริงใต้ slab จัดวางห่างกัน 0.5m ดังนั้น K = k(1 m strip)(0.5m) = 25000 kN/m ยกเว้นสปริงตรงขอบซึ่งมีระยะรับผิดชอบเพียง 0.25m ดังนั้น K = k(1m strip)(0.25m) = 12500 kN/m เมื่อใส่แรงภายนอกกระทำด้วย load combination ตามที่ code กำหนด จึงหาแรงที่เกิดขึ้นได้และนำไปออกแบบ RC ต่อไป รูปที่ 4 เป็น box culvert ที่สร้างเสร็จ
เรื่องสปริงของดินที่จริงมีความซับซ้อนมากกว่านี้ เนื้อหาที่ผมกล่าวถึงข้างบนเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติหนึ่งเท่านั้นครับ
 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ค่าสปริงของดินสำหรับนำไปสร้างแบบจำลองโครงสร้างและความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com