ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เมื่อประมาณสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับท่านอาจารย์ทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างท่านหนึ่งที่ผมมีความเคารพนับถือท่านมากในประเด็นเกี่ยวกับเรื่อง การนำผลของโมเมนต์มาใช้ในการคำนวณหาค่าแรงเฉือนทะลุ ซึ่งผมต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์ท่านนี้ที่ท่านได้ให้ความกรุณาสนทนาและแลกเปลี่ยนความรู้กับผมอยู่นานพอสมควร ซึ่งผมแค่คิดว่าหากนำเอามาสรุปให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยก็น่าจะเป็นการดี ผมจึงได้ทำการรวบรวมเอาเนื้อหาที่ผมได้พูดคุยกับท่านอาจารย์ท่านนี้เอาไว้ในโพสต์ๆ นี้ ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้ทำการตั้งคำถามกับบรรดาลูกศิษย์ของท่าน โดยผมทำการสรุปคำถามของท่านอาจารย์เอาไว้ดังต่อไปนี้

“โครงสร้างฐานรากที่เป็นแบบ ON GROUND และ ON PILE หากคุณเป็นผู้ออกแบบ แน่นอนว่าคุณจะต้องออกแบบให้มันรับ MOMENT FORCE ที่เกิดขึ้นด้วย คำถามก็คือ ค่า MOMENT FORCE ที่นำมาออกแบบนี้จะมีผลต่อการเกิด PUNCHING SHEAR ในโครงสร้างฐานรากด้วยหรือไม่ ให้ทำการยกเหตุผลประกอบด้วย ?”


โดยที่ผมได้ให้คำตอบแก่ท่านอาจารย์ไปว่า สำหรับวิศวกรท่านอื่นๆ ผมไม่อาจจะทราบได้เพราะก็ต้องยอมรับว่าวิศวกรบางคนนั้น NEGLECT ผลของค่า PUNCHING SHEAR ที่เกิดจาก MOMENT FORCE ทั้งในขั้นตอนการคำนวณออกแบบเริ่มแรกและขั้นตอนสุดท้ายจริงแต่สำหรับผมในการออกแบบในขั้นตอนสุดท้ายผมจะต้อง ACCOUNT ค่า SHEAR ที่เป็นผลมาจาก MOMENT FORCE เสมอ อธิบายมาถึงตรงนี้ผมอยากที่จะให้เพื่อนๆ ได้ดูรูปที่ 1 ประกอบนั่นก็คือ รูปแบบของการรับแรงในโครงสร้างฐานรากแบบ ON GROUND ซึ่งฐานรากจะต้องรับทั้ง แรงกระทำตามแนวแกน หรือ AXIAL FORCE และ แรงดัด หรือ MOMENT FORCE ซึ่งผลลัพธ์ของแรงเค้นแบกทานก็จะมีทั้งค่าแรงเค้นแบกทานมากที่สุดหรือ MAXIMUM BEARING STRESS และค่าแรงเค้นแบกทานน้อยที่สุดหรือ MINIMUM BEARING STRESS ซึ่งหากเราทำการใช้หลักการของการซ้อนทับหรือ SUPERPOSITION เราก็จะสามารถแยกรูปแรกออกมาได้เป็นรูปย่อยสองรูป โดยที่ท่านอาจารย์ได้ทำการสอนและสรุปให้พวกเราได้ทราบว่าหากโครงสร้างของฐานรากนั้นเป็นไปตามกรณีที่ 1 นั่นก็คือกรณีที่โครงสร้างฐานรากนั้นมีแรงกระทำที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างด้านบน โดยที่แรงกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะกระทำลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากหรืออาจจะไม่ได้ลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากก็ได้ แต่ ลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างฐานรากนั้นมีมิติและรูปทรงที่มีความสมมาตรรอบทิศทางที่เกิดแรงดัด หากเป็นเช่นนั้นแรงดัดก็จะไม่มีผลใดๆ ต่อการเกิดแรงเฉือนทะลุเลย พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สำหรับกรณีนี้เราสามารถที่จะ NEGLECT ค่า PUNCHING SHEAR ที่เกิดจาก MOMENT FORCE จากกรณีแบบนี้ได้เพราะสุดท้ายแล้วแรงลัพธ์อันเนื่องมาจากแรงดัดที่เกิดขึ้นในกรณีของโครงสร้างฐานรากแบบนี้จะถูกหักล้างหรือหายกันไปหมดนะครับ


มาต่อกันที่รูปที่ 2 ซึ่งเป็นรูปสุดท้ายกันเลย ซึ่งผมก็ได้ทำการเสริมความคิดเห็นของท่านอาจารย์โดยการอธิบายถึงคำตอบต่อคำถามของท่านอาจารย์ไปในตอนต้นที่ว่า ส่วนตัวของผมนั้นจะคิดผลของค่า MOMENT FORCE ที่มีต่อ PUNCHING SHEAR เสมอในทุกๆ กรณีของโครงสร้างฐานรากเพราะว่ามีความเป็นไปได้ว่าโครงสร้างฐานรากนั้นจะมีลักษณะเป็นไปตามกรณีที่ 2 นั่นก็คือกรณีที่โครงสร้างฐานรากนั้นมีแรงกระทำที่ถ่ายลงมาจากโครงสร้างด้านบน โดยที่แรงกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะกระทำลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากหรืออาจจะไม่ได้ลงมาที่ตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของโครงสร้างฐานรากก็ได้ แต่ ลักษณะและรูปทรงของโครงสร้างฐานรากนั้นมีมิติและรูปทรงที่ไม่ได้มีความสมมาตรรอบทิศทางที่เกิดแรงดัด หากเป็นเช่นนั้นแรงดัดจึงจะมีผลต่อการเกิดแรงเฉือนทะลุทันที พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สำหรับกรณีนี้เราจะไม่สามารถที่จะ NEGLECT ค่า PUNCHING SHEAR ที่เกิดจาก MOMENT FORCE ได้อีกต่อไปแล้วเพราะสุดท้ายแล้วแรงลัพธ์อันเนื่องมาจากแรงดัดที่เกิดขึ้นในกรณีของโครงสร้างฐานรากแบบนี้จะไม่ถูกหักล้างหรือหายไปไหนน่ะครับ

บทเรียนๆ หนึ่งที่พวกเราจะสามารถเรียนรู้ได้จากเนื้อหาที่ท่านอาจารย์ได้ให้ความกรุณานำเอามาสอนพวกเราข้างต้นนี้ก็คือ ในการเป็นวิศวกรโครงสร้างเราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงพฤติกรรมของทุกๆ องค์ประกอบของโครงสร้างที่เรากำลังให้ความสนใจอยู่ เช่น พฤติกรรมของแรงหลัก พฤติกรรมของแรงย่อย พฤติกรรมของแรงลัพธ์ พฤติกรรมของแรงเค้น เป็นต้น เพราะหากเรามีความรู้และความเข้าใจข้างต้นอย่างถ่องแท้และลึกซึ้งเพียงพอแล้ว เราก็จะได้สามารถทำการออกแบบโครงสร้างและกำหนดรายละเอียดต่างๆ ของตัวโครงสร้างของเราให้มีทั้งเสถียรภาพ ความแข็งแรงและความประหยัดอยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมสูงสุดนั่นเองครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ท่านอาจารย์ได้ให้ความกรุณาอุตสาห์เสียสละเวลาส่วนตัวของท่านเพื่อมาสนทนาและแลกเปลี่ยนความรู้กับลูกศิษย์ทุกๆ คนของท่านในหัวข้อดีๆ และเป็นประโยชน์แบบนี้ ผมจะขออนุญาตนำเอาบทเรียนต่างๆ ที่ท่านอาจารย์ได้ให้ความรู้และได้แนะนำเหล่านี้ไปใช้ในการทำงานและจะนำไปสอนน้องๆ วิศวกรท่านอื่นๆ ต่อไปครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#เมื่อใดที่จะต้องนำเอาค่าแรงดัดมาคิดผลของแรงเฉือนทะลุในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com