การวิเคราะห์โครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ที่ผมได้ทำการโพสต์แชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทบทวนความรู้ในการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อการเตรียมตัวที่จะสอบใบประกอบวิชาชีพในเรื่อง กรณีของการวิเคราะห์หาค่าการเสียรูปของโครงสร้างพร้อมๆ กับการวิเคราะห์โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบ STATICALLY INDETERMINATE ซึ่งในตอนท้ายตามที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบกันว่าเมื่อได้ทำการคำนวณหาค่าการเสียรูปในแนวราบ ณ จุดรองรับ B ผลที่คำนวณได้จะมีค่าเท่ากับ 21.11 มม ซึ่งในมุมมองของผม จากการที่ค่าการเสียรูปในแนวราบที่ยอมให้นั้นมีค่าเท่ากับ 25 มม ซึ่งจะมีความใกล้เคียงกันมากจนเกินไปเพราะเนื่องจากในการคำนวณด้วยมือเมื่อวานนั้น ผมได้ตัดสินใจนำเอาเฉพาะเทอมที่เป็นผลจากการเสียรูปอันเนื่องมาจากแรงดัดมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างเท่านั้น

 

ดังนั้นหากให้ผมตัดสินใจด้วยข้อมูลดังกล่าว ผมจึงได้ระบุไปว่าผลมีความเสี่ยงมากจนเกินไป ทางที่ดีควรที่จะทำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยละเอียดโดยอาจจะใช้วิธีกระบวนการทาง FINITE ELEMENT ก็ได้ ผลคือมีเพื่อนของผมท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาถามกับผมว่า ผมมีความคิดว่าผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างนั้นจะมีค่าความคลาดเคลื่อนมากขนาดนั้นเลยหรือ ?

 

ผมจึงตอบไปว่า ในมุมมองของผมอีกเช่นกัน ผมไม่คิดว่ามันจะเยอะมากมายอะไรขนาดนั้นแต่ด้วยความที่เราเป็นวิศวกรโครงสร้าง เมื่อการคำนวณยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างครบถ้วน ประกอบกับการที่ค่าของคำตอบออกมาใกล้เคียงกันกับค่าที่ยอมให้ เลยทำให้ผมให้ความเห็นไปเช่นนั้น หลังจากนั้นเราก็พูดคุยกันในอีกๆ หลายประเด็นและผมก็ได้รับปากกับเพื่อนท่านนี้ว่า ผมจะนำผลการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีกระบวนการทาง FINITE ELEMENT มาคำนวณเพื่อเปรียบเทียบผลให้ดูก็ได้

 

ผลปรากฏว่าก็เป็นไปตามที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นครับ นั่นก็คือผลที่ทำการวิเคราะห์โครงสร้างออกมาจะมีค่าความคลาดเคลื่อนที่น้อยมากๆ นั่นก็คือ ค่าการเสียรูปในแนวราบ ณ จุดรองรับ B ที่คำนวณด้วยวิธีกระบวนการทาง FINITE ELEMENT นั้นจะมีค่าเท่ากับ 21.307 มม ซึ่งจะมีค่าความแตกต่างจากการคำนวณด้วยมือเพียง 0.197 มม ซึ่งต้องถือว่ามีค่าน้อยมากๆๆๆๆ

 

อย่างไรก็ดีเพื่อนๆ ต้องไม่ลืมด้วยนะครับว่าต่อให้การวิเคราะห์โครงสร้างของเราเป็นไปโดยวิธีการที่มีความละเอียดแล้วแต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่จะต้องทำการคำนึงถึงด้วย เช่น ลักษณะของฝีมือแรงงานที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างนั้นเป็นเช่นใด? ลักษณะของความผันผวนแปรปรวนของ นน บรรทุกที่กระทำบนโครงสร้างนั้นมีมากหรือน้อยเพียงใด? ความสมบูรณ์ต่างๆ ของจุดรองรับนั้นเป็นไปตามสมมติฐานการออกแบบมากหรือเพียงใด? เป็นต้น

 

เอาเป็นว่าผมขออนุญาตกล่าวตักเตือนตัวของผมเองและเพื่อนๆ ที่รักทุกคนว่า วิศวกรอย่างเราๆ จะต้องทำการพิจารณา ออกความเห็น ทำการแก้ปัญหา จากพื้นฐานของข้อมูลที่เราใช้ในการวิเคราะห์ถึงปัญหานั้นๆ จากความรู้ จากวิจารณญาณ จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกมากมายที่อาจจะมีอยู่ในปัญหานั้นๆ มาใช้ในการประกอบการตัดสินใจ

 

ทั้งนี้ก็เพราะการตัดสินใจของเรานั้นจะมีผลต่อลักษณะของการใช้งานอาคารของผู้คนซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้น ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดก็คือ เราควรที่จะหลีกเลี่ยงการตัดสินใจใดๆ ที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาใดๆ ต่อการใช้งานโครงสร้างนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนที่เราจะต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเราไปตลอดอายุการใช้งานโครงสร้างนั้นๆ น่ะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาของการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจเชิงวิศวกรรม

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com