ข้อแนะนำสำหรับ จำนวน และระดับความลึก ของหลุมเจาะที่ทำการทดสอบคุณสมบัติของดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดถึงข้อแนะนำสำหรับ จำนวน และ ระดับความลึก ของหลุมเจาะที่จะทำการทดสอบคุณสมบัติของดิน ทั้งนี้ก็เพื่อนำผลจากการทดสอบมาใช้ในการออกแบบฐานรากและเสาเข็ม ให้แก่เพื่อนๆ ทุกท่านได้รับทราบกันนะครับ

 

จริงๆ แล้วเรื่องของการกำหนดขนาดของความลึกและตำแหน่งของการสำรวจตัวอย่างดินนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะความแปรปรวนของชั้นดินเป็นหลักเลยนะครับ โดยที่เราจะต้องนำเรื่องของ น้ำหนัก และ ความสำคัญ ของสิ่งก่อสร้าง มาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ โดยที่เราอาจจะทำการพิจารณาได้จากรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ

 

  1. จะต้องมีหลุมเจาะนำร่อง หรือ PILOT BORING ที่ตำแหน่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากที่สุดในอาคาร เช่น บริเวณที่น้ำหนักในแนวดิ่งถูกถ่ายลงมาที่ฐานรากมากที่สุด ตำแหน่งที่มีส่วนของอาคารที่มีขนาดความสูงๆ ที่สุดในพื้นที่ๆ จะทำการก่อสร้าง เป็นต้น โดยที่หลุมนำร่องนี้จะต้องมีอย่างน้อย 1 ตำแหน่งนะครับ

 

  1. จะต้องมีจำนวนหลุมเจาะที่ครอบคลุมพื้นที่ซึ่งมีลักษณะการกระจายตัวออกไปครอบคลุมพื้นที่บริเวณฐานรากทั้งหมด ทั้งนี้ก็เพื่อให้เราสามารถที่จะทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของชั้นดินในแนวราบได้ โดยจะมีระยะตามที่ได้มีเสนอแนะเอาไว้สำหรับทั้ง อาคารที่ตั้งอยู่ในเขต กทม กับจังหวัดใกล้เคียง และ อาคารที่ตั้งอยู่ในเขตต่างจังหวัด ดังรูปที่แสดงอยู่ในโพสต์ๆ นี้นะครับ

 

  1. จะต้องมีหลุมเจาะเสริม หรือ การทดสอบในสนาม หรือ การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดการครอบคลุมพื้นที่ๆ มีขนาดความกว้างมากๆ หรือ มีลักษณะที่เป็นแนวยาวมากๆ ได้นะครับ

 

หมายเหตุตอนท้ายนี้นิดนึงนะครับ คำว่า SPECIAL STRUCTURE ในรูปที่แสดงนี้หมายถึง อาคารที่มีการรับ นน มากเป็นพิเศษ เช่นอาคารหอประชุม อาคารโรงภาพยนตร์ อาคารห้างสรรพสินค้า อาคารที่มีระยะช่วงเสาที่วางห่างกันมากๆ หรือ อาคารสาธารณะที่มีขนาดความสูง 16 – 18 ชั้น เป็นต้นนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน

#จำนวนและขนาดความลึกของหลุมเจาะเพื่อการสำรวจดิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com