สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
เนื่องจากวันนี้เป็นวันแรกที่ผมจะเริ่มต้นถึงหัวข้อนี้อย่างจริงๆ จังๆ ผมจึงจะขอเริ่มต้นจากเรื่องพื้นฐานๆ ก่อนเลยก็แล้วกันซึ่งในวันนี้ผมจะมาอธิบายให้เพื่อนๆ ได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทำการเจาะสำรวจดิน หรือ BORING LOG นั่นเองนะครับ
จริงๆ แล้ววัตถุประสงค์ในการทำการเจาะสำรวจดินนั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายประการเลย แต่ ทั้งนี้เราก็สามารถที่จะทำการสรุปใจความสำคัญออกมาได้เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้นะครับ
1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ในโครงการก่อสร้าง ในหลายๆ ครั้งที่การตัดสินจะเริ่มต้นทำงานก่อสร้างในโครงการหนึ่งๆ นั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก นั่นเป็นเพราะว่าไม่มีการทำ BORING LOG ดังนั้นจึงอาจถือได้ว่าขั้นตอนในการทำ BORING LOG นั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการที่เราจะทำงานก่อสร้างในโครงการหนึ่งๆ เลยก็ว่าได้ครับ
2) เพื่อให้การออกแบบเป็นไปด้วยความ ประหยัด และ ถูกต้อง ทั้งงานหลักของโครงการ งานก่อสร้างชั่วคราว งานปรับปรุงคุณภาพดิน และการควบคุมน้ำใต้ดิน โดยหลายๆ ครั้งเราอาจจะพบว่าในโครงการก่อสร้างหลายๆ โครงการ ที่มีการก่อสร้างโครงสร้างส่วนบนเป็นอย่างดี แต่ โครงการนั้นๆ กลับล้มเหลว เพราะ โครงสร้างดินนั้นถูกละเลย ไม่ได้รับความใส่ใจตั้งแต่ทีแรก ทำให้ส่วนที่มีการต่อเชื่อมกันระหว่าง โครงสร้างส่วนล่าง และ โครงสร้างส่วนบน ซึ่งก็คือโครงสร้างฐานรากนั้นเกิดการวิบัติ หรือ ไม่เป็นไปตามพฤติกรรมที่ได้รับการออกแบบเอาไว้ทั้งนี้เพราะไม่มีการทำ BORING LOG หรือ อาจมีการทำ BORING LOG แต่จำนวนของข้อมูลที่ทำนั้นไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอครับ
3) เพื่อการวางแผนการก่อสร้างที่ดีที่สุด ทั้งการเลือกวิธีก่อสร้าง การคาดคะเนและการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในงานก่อสร้าง เพราะ ในหลายๆ ครั้งที่ข้อมูลจากการทำ BORING LOG จะช่วยให้เราสามารถที่จะทำการวางแผนงานการก่อสร้างให้ออกมา ดี มีความเหมาะสม และ สอดคล้อง กันกับสภาพจริงๆ ของดินในโครงการก่อสร้างได้ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลสะท้อนกลับทำให้เกิดความประหยัดทั้งในเรื่อง เวลา และ งบประมาณ ในการก่อสร้าง ด้วยนะครับ
4) เพื่อการออกแบบที่ดีขึ้นหากมีปัญหาเกิดการวิบัติของ ดิน หรือ โครงสร้างฐานราก หรือ โครงสร้างเสาเข็ม ขึ้น สำหรับข้อนี้จะเป็นกรณีที่โครงการก่อสร้างนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ โดยที่ตำแหน่งที่เกิดการวิบัตินั้นไม่ได้มีการทำ BORING LOG เอาไว้ ในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุใดๆ ขึ้นการทำ BORING LOG จะช่วยผู้ออกแบบทางด้านข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีเลยครับ
5) เพื่อทราบแหล่งของ ดิน ที่จะสามารถนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างของเรา สาเหตุก็เป็นเพราะว่าในหลายๆ ครั้งที่การก่อสร้างนั้นเราจะสามารถที่จะนำดินภายในโครงการก่อสร้างมาใช้ในงานก่อสร้างเพื่อให้เกิดความประหยัดได้ แต่ พอไม่ทำการเจาะสำรวจดิน ก็เลยทำให้เราไม่อาจที่จะทราบได้ว่าลักษณะของดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ สามารถที่จะนำมาใช้ ได้ หรือ ไม่
6) เพื่อเลือกพื้นที่สำหรับการกองเก็บวัสดุและลำเลียงทิ้งของเสีย จริงๆ ข้อดีข้อนี้จะคล้ายๆ กันกับข้อที่ 5 เพราะ การการกองเก็บวัสดุใดๆ ก็ดี หรือ การจะลำเลียงวัสดุใดๆ ออกจากสถานที่ก่อสร้างก็ดี หากทำการเจาะสำรวจดินเสียก่อนเราจะพบว่าข้อมูลจากการสำรวจดินจะมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจข้อนี้มากๆ บางครั้งหากว่าดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีคุณสมบัติที่ดีเพียงพอ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องนำวัสดุต่างๆ ไปกองเก็บที่ภายนอกโครงการเลยก็มีความเป็นไปได้นะครับ
7) เพื่อประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มีดินรองรับอยู่ เช่น โครงสร้างเขื่อน เชิงลาดของภูเขา เป็นต้น เพราะ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า งานพวกนี้ค่อนข้างที่จะมีความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจำนวนมากจริงๆ ดังนั้นการตัดสินใจทำ BORING LOG ในโครงการเหล่านี้ดูจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีความจำเป็นมากๆ เพราะ หากจะไม่ทำการเก็บข้อมูลดินในโครงการแบบนี้ก็ดูที่จะเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไมได้เลยครับ
8) เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของชั้นดินและสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการก่อสร้าง หรือ เกิดตามธรรมชาติ ในอนาคตข้างหน้าได้อย่างแม่นยำและถูกต้องมากที่สุด ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าเมื่อเวลาได้ล่วงเลยผ่านไป สภาพของชั้นดินในแต่ละท้องที่นั้นสามารถที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เกือบจะตลอดเวลา ดังนั้นตั้งแต่ในอดีตไปจนถึงอนาคตแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงสภาพของดินนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด หรือ เป็นอย่างไร หากไม่มีการทำ BORING LOG เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ก็คงจะเป็นเรื่องยากหากจะหาใครสักคนมานั่งเทียนบอกเล่าได้ว่าดินในโครงการก่อสร้างของเรานั้นจะมีแนวโน้มที่อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้หรือไม่นั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน
#วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจดิน
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com