สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SSE) นะครับ
เนื่องจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้นผมได้อธิบายข้อสอบใบประกอบวิชาชีพที่ออกโดยสภาวิศวกรเรื่อง พฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างโครงถัก ว่าเราสามารถที่จะสังเกตดูว่า แรงในชิ้นส่วนของโครงสร้างโครงถักใดที่เป็น แรงดึง (TENSION FORCE) หรือ แรงอัด (COMPRESSIOB FORCE) ได้โดยอาศัยเทคนิคการแปลงให้โครงสร้างโครงถักนั้นๆ ให้กลายเป็น โครงสร้างคาน และดูพฤติกรรมการรับแรงและการเสียรูปก็จะสามารถบอกได้คร่าวๆ แล้วนะครับว่า โครงสร้างโครงถัก นั้นๆ จะต้องรับแรงประเภทใดบ้าง
ปรากฏว่ามีเพื่อนๆ หลายคนให้ความสนใจและอยากให้ผมอธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นๆ นี้ซึ่งจริงๆ ตัวของผมเองนั้นเคยพูดถึงเรื่องๆ นี้ไปหลายครั้งแล้วก่อนหน้านี้ เพียงแต่อาจจะไม่ได้พูดถึงโดยตรง แต่ ไม่เป็นไรครับวันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นนี้กันชัดๆ อีกสักรอบโดยอาศัย ตย ประกอบในโจทย์ปัญหาของวันนี้ก็แล้วกันนะครับ
หากเราเริ่มต้นดูรูปซ้ายมือก่อนนะครับ จะพบว่าเป็นโครงสร้างโครงถักช่วงเดียว (SIMPLY SUPPORTED TRUSS STRUCTURE) ที่มีการรับแรงในแนวดิ่งกระทำในทิศทางลง หากเราจะอาศัยเทคนิคที่ผมแนะนำให้ เราก็แค่ทำการแปลงให้โครงสร้างโครงถักนี้ให้กลายเป็นโครงสร้างคานช่วงเดียว (SIMPLY SUPPORTED BEAM STRUCTURE)
จากนั้นเมื่อเราสังเกตดูพฤติกรรมการรับแรงและการเสียรูปของโครงสร้างคานๆ นี้เราจะพบว่า เมื่อคานเกิดการโก่งตัวลงไปตามทิศทางการกระทำของแรง ที่ผิวทางด้านบนของคานนั้นจะเป็น ผิวที่ต้องรับแรงอัด ส่วนที่ผิวด้านล่างของคานนั้นจะเป็น ผิวที่ต้องรับแรงดึง ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะบอกได้เลยว่า ภายในชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงสร้างโครงถักนี้ก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงสร้างคาน นั่นก็คือ ชิ้นส่วนที่อยู่ทางด้านบน จะเป็น ชิ้นส่วนรับแรงอัด และ ชิ้นส่วนที่อยู่ทางด้านล่าง จะเป็น ชิ้นส่วนรับแรงดึง
เรามาดูรูปทางด้านขวามือกันต่อเลยนะครับ จะพบว่าเป็นโครงสร้างโครงถักช่วงต่อเนื่อง (CONTINUOUSLY SUPPORTED TRUSS STRUCTURE) ที่มีการรับแรงในแนวดิ่งกระทำในทิศทางลง หากเราจะอาศัยเทคนิคที่ผมแนะนำให้ เราก็แค่ทำการแปลงให้โครงสร้างโครงถักนี้ให้กลายเป็นโครงสร้างคานช่วงต่อเนื่อง (CONTINUOUSLY SUPPORTED BEAM STRUCTURE)
จากนั้นเมื่อเราสังเกตดูพฤติกรรมการรับแรงและการเสียรูปของโครงสร้างคานๆ นี้เราจะพบว่ามีความแตกต่างออกไปจากรูปทางด้านซ้ายมือ เพราะ คานจะเกิดจุดดัดกลับ (INFLECTION POINT) ที่บริเวณใกล้จุดรองรับด้านใน ซึ่งก็จะทำให้แรงดัดนั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นหากเราทำการพิจารณา เฉพาะ ตรงบริเวณตำแหน่งที่จุดรองรับด้านใน (INTERIOR SUPPORT) เราจะพบว่า เมื่อคานเกิดการโก่งตัวลงไปตามทิศทางการกระทำของแรง ที่ผิวทางด้านบนของคานนั้นจะเป็น ผิวที่ต้องรับแรงดึง ส่วนที่ผิวด้านล่างของคานนั้นจะเป็น ผิวที่ต้องรับแรงอัด เราจึงสามารถที่จะบอกได้เลยว่า ภายในชิ้นส่วนต่างๆ ของโครงสร้างโครงถักภายในบริเวณๆ นี้ก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในโครงสร้างคานเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ ชิ้นส่วนที่อยู่ทางด้านบน จะเป็น ชิ้นส่วนรับแรงดึง และ ชิ้นส่วนที่อยู่ทางด้านล่าง จะเป็น ชิ้นส่วนรับแรงอัด
ผมคิดว่าเทคนิคนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกๆ คน เพราะ เวลาที่เพื่อนๆ จะต้องทำการตรวจสอบดูว่าโครงสร้างโครงถักชิ้นส่วนหนึ่งชิ้นส่วนใดนั้นจะต้องรับแรงประเภทหนึ่งประเภทใด เพื่อนๆ ก็สามารถนำเทคนิคไปทำการสังเกตโครงสร้างของเพื่อนๆ ได้นั่นเองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com