สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน
วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาพูดต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานที่มีความเกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญๆ ที่เราควรที่จะทำการพิจารณาเวลาที่ทำการออกแบบและการทำงานก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กแก่เพื่อนๆ กันนะครับ
ซึ่งประเด็นในวันนี้ก็ยังคงเกี่ยงข้องกับเรื่อง การที่เราควรที่จะระมัดระวังมิให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากการที่เราได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในตอนแรกนะครับ โดยในวันนี้ผมหยิบยก ตย ขึ้นมาให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันด้วย เพื่อนๆ จะได้สามารถที่จะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยนะครับ
อย่างที่ผมเรียนไปในโพสต์ที่แล้วนะครับว่า ที่มาของปัญหานี้ คือ เวลาที่ผู้ออกแบบทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโครงถักเหล็ก เรามักที่จะทำการจำลองให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน แต่ ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ช่างทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กมักที่จะทำงานโดยอาศัยความง่ายในการทำงานเอาไว้ก่อน ทำให้แนวศูนย์กลางของชิ้นส่วนนั้นไม่ตรงตามสมมติฐานข้อนี้ อันจะทำให้เกิดระยะเยื้องศูนย์ (ECCENTRICITY) ขึ้นซึ่งระยะเยื้องศูนย์นี้จะทำให้เกิดแรงดัดที่ไม่ได้ตั้งใจ (UNINTENTIONAL MOMENT) ขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างนะครับ เพราะ การก่อสร้างตามแบบในลักษณะที่ให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนนั้นตรงกันจะทำงานได้ยากกว่านั่นเองนะครับ
โดยที่ ตย ในวันนี้ที่ผมเลือกนำมาหยิบยกให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันนั้นจะเป็นโครงสร้างเหล็กโครงถักที่มีความยาวช่วงเท่ากับ 20 ม ผมออกแบบให้โครงถักนี้มีความลึกเท่ากับ 1.25 ม ต้องรับ นน บรรทุกแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอทั่วทั้งพื้นที่ เป็น นน บรรทุกคงที่ และ นน บรรทุกจร ที่กระทำลงมาในแนวดิ่งทั้งหมดเท่ากับ 80 กก ต่อ ตารางเมตร โดยที่พอทำการถ่าย นน บรรทุกนี้มาแล้วจะกลายเป็น นน บรรทุกแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอตลอดความยาว เฉพาะบนชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD เท่านั้น เพราะ ชิ้นส่วนนี้จะทำหน้าที่รับ แป ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่าย นน บรรทุกต่างๆ ลงมาที่โครงถักนี้อีกทีครับ
(รูปที่ 1)
(รูปที่ 2)
รูปที่ 1 และ รูปที่ 2
จะแสดงให้เห็น CONFIGURATION ของโครงถักโดยรวมนะครับว่ามีความยาวช่วงที่เท่าๆ กัน คือ เท่ากับ 20 เมตร โดยที่รูปที่ 1 เราจะทำการจำลองโครงสร้างตามปกติ คือ ให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน ส่วนรูปที่ 2 ผมใช้คำสั่ง SPEC/BEAM/OFFSET ทำการ เลื่อน มิให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน
(รูปที่ 3)
(รูปที่ 4)
รูปที่ 3 และ 4
จะเป็นการขยายภาพที่ผมได้ทำการไฮไลต์ไว้ในรูปที่ 1และ 2 นะครับ จะสังเกตได้ว่าในรูปที่ 3 นั้นจะเป็นเหมือนรูปๆ บน ในโพสต์เมื่อวานที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ นะครับ ส่วนในรูปที่ 2 นั้นจะเป็นเหมือนรูปๆ ล่างในโพสต์เมื่อวานที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ นะครับ
(รูปที่ 5)
(รูปที่ 6)
รูปที่ 5 และ 6
เป็นผลการออกแบบโครงสร้างที่คำนวณโดยโปรแกรม STAAD.PRO นะครับ โดยตัวเลขที่เห็นในรูปๆ นี้ คือ ค่าที่ได้จากการคำนวณ UNITY CHECK ซึ่งผลการออกแบบจะแสดงออกมาในลักษณะ DESIGN RATIO ซึ่งหากค่าๆ นี้น้อยกว่า 1.00 ก็ถือว่าชิ้นส่วนนั้นๆ ปลอดภัยเพียงพอ ซึ่งค่าๆ นี้หากยิ่งมีค่า น้อย ก็จะยิ่งดีนะครับ นั่นหมายความว่า ชิ้นส่วนของเรามีหน่วยแรงที่เกิดขึ้นจริง น้อย กว่าหน่วยแรงที่สามารถจะรับได้ค่อนข้างมากนั่นเองครับ หากดูรูปที่ 5 จะพบว่าค่า DESIGN RATIO ที่มากที่สุดจะมีค่าเท่ากับ 0.481 และ หากดูรูปที่ 6 จะพบว่าค่า DESIGN RATIO ที่มากที่สุดจะมีค่าเท่ากับ 0.517 จะเห็นได้ว่า DESIGN RATIO ที่เพิ่มเติมขึ้นมาจะเท่ากับ (0.517 – 0.481)/(0.481) x 100 = 7.48 %
อย่าลืมนะครับว่าโครงถักทั้งสองนี้มีคุณสมบัติทุกอย่างที่เหมือนกันทั้งหมด ยกเว้น วิธีในการทำการเชื่อมต่อตำแหน่งของศูนย์กลางของชิ้นส่วนเพียงเท่านั้น นี่เรายังไม่ได้นับรวมปัจจัยข้อผิดพลาดอื่นๆ ที่อาจที่จะเกิดขึ้นที่ หน้างาน หรือใน โรงงาน ที่ใช้ทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กของเรานะครับ ยิ่งในบางครั้งสำหรับกรณีที่เราต้องการให้เกิดความประหยัดมากๆ ยิ่งเรารีดให้ค่าขนาดหน้าตัดเหล็กของเรานั้นมีขนาดที่เล็กลงมากเท่าใด เมื่อนั้นค่า DESIGN RATIO ของเราก็จะยิ่งมีค่าที่สูงขึ้นตามไปด้วย เช่น อาจจะให้ค่าๆ นี้อยู่ที่ประมาณ 0.85 ถึง 0.95 ซึ่งก็ยังมีค่าน้อยกว่า 1.00 อยู่ แต่ หากว่าจะต้องมาผนวกกับข้อผิดพลาดดังกล่าวนี้อีก ค่า DESIGN RATIO ที่อาจจะเพิ่มขึ้นนี้อาจจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ถึง 10 ซึ่งจากผลที่ตามมาจากกรณีนี้ก็อาจที่จะทำให้ผลที่เกิดขึ้นนั้นมีความร้ายแรงและรุนแรงกว่าที่ผมได้ทำการ ยก ตย ให้แก่เพื่อนๆ ก็เป็นได้นะครับ
ดังนั้นเมื่อใดที่เพื่อนๆ จะต้องเป็นผู้ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กโครงถัก หรือ อาจจะต้องรับผิดชอบในการควบคุมการทำงานก่อสร้างโครงถักใดๆ ก็ตามแต่ ผมก็อยากที่จะขอฝากให้เพื่อนๆ นั้นได้ตระหนักถึงผลข้อนี้ด้วยก็จะเป็นการดี ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่องานออกแบบและงานก่อสร้างของเพื่อนๆ เองนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com