วิศวกรรมแผ่นดินไหว

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องวิศวกรรมแผ่นดินไหวต่อเนื่องจากโพสต์เมื่อวานของผมนะครับ

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่าการวิเคราะห์แรงต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS นั้นจะแตกต่างไปจากการวิเคราะห์โครงสร้างเนื่องจาก นน บรรทุกประเภทอื่นๆ เช่น นน บรรทุกคงที่ นน บรรทุกจร นน บรรทุกแรงลม เป็นต้น สาเหตุเป็นเพราะว่าแรงกระทำที่เกิดจากแผ่นดินไหวนั้นจะทำให้อาคารเกิดการเคลื่อนที่ในรูปแบบวัฎจักร หรือ CYCLIC MOVEMENT ซึ่งจะแตกต่างจากการเคลื่อนที่เนื่องจาก นน บรรทุกประเภทอื่นๆ

โดยเราสามารถถือได้ว่าการวิเคราะห์แรงต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหว หรือ SEISMIC ANALYSIS นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์โครงสร้างได้นะครับ และ มีความจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์ และ คํานวณผลกระทบนี้ต่อโครงสร้างของอาคารต่อแรงกระทำที่เกิดจากแผ่นดินไหวด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ๆ มีโอกาส หรือ มีความเสียงภัยต่อการเกิดแรงแผ่นดินไหวครับ

โดยวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างในลักษณะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบหลักๆ คือ

(1) EQUIVALENT STATIC ANALYSIS หรือ วิธีแรงสถิตย์เทียบเท่า

(2) RESPONSE SPECTRUM ANALYSIS หรือ วิธีสเปกตรัมการตอบสนองแบบโหมด ซึ่งเป็นวิธีวิเคราะห์โครงสร้างโดยอาศัยหลักการทางด้านพลศาตร์ โดยเราสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 วิธีย่อยๆ คือ
(2.1) วิธีวิเคราะห์การตอบสนองเชิงเส้นแบบประวัติเวลา
(2.2) วิธีวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา

(3) LINEAR DYNAMIC ANALYSIS หรือ วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างโดยพิจารณาให้โครงสร้างเป็นเชิงเส้นโดยอาศัยวิธีพลศาสตร์

(4) NON-LINEAR STATIC ANALYSIS หรือ วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างโดยพิจารณาให้โครงสร้างไม่เป็นเชิงเส้นโดยอาศัยวิธีสถิตศาสตร์
(5) NON-LINEAR DYNAMIC ANALYSIS หรือ วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างโดยพิจารณาให้โครงสร้างไม่เป็นเชิงเส้นโดยอาศัยวิธีพลศาสตร์

ในปัจจุบันกฎหมายในบ้านเราได้กำหนดให้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างตามวิธีการที่ (1) และ (2)

เพื่อนๆ อาจเคยได้ยินชื่อว่า PUSH OVER ANALYSIS กันใช่มั้ยครับ ?

วิธีการนี้ถือเป็นวิธีการที่ (4) หรือ NON-LINEAR STATIC ANALYSIS นั่นเองนะครับ ส่วนสาเหตุที่นิยมใช้วิธีการนี้ก็เพราะว่าวิธีการนี้สามารถทำได้แบบตรงไปตรงมา ทำได้ค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อนมาก ให้ผลการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ และ ยังช่วยทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจพฤติกรรมโดยรวมของโครงสร้างในแต่ละสภาวะของโครงสร้างภายใต้แรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้ค่อนข้างง่ายอีกด้วยครับ (ดูรูปภาพประกอบได้นะครับ)

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN