สมการในการคำนวณหาค่าน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน  

วันนี้ผมจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังถึงเรื่องสมการในการคำนวณหาค่า นน บรรทุกของเสาเข็ม ซึ่งสุดท้ายค่า PARAMETER ที่เราจะได้จากคำนวณจากข้อมูลของดินอย่างที่ผมได้เคยเล่าให้เพื่อนๆ ฟังก่อนหน้านี้ ก็จะถูกนำมาคำนวณในสมการเหล่านี้นั่นเองครับ

 

เรามาดูกันก่อนนะครับว่าตัวย่อของค่าต่างๆ ที่จะถูกนำไปแทนค่าในสมการต่างๆ เหล่านี้ประกอบไปด้วยตัวย่ออะไรบ้าง

เริ่มต้นจากค่าคุณสมบัติต่างๆ ของเสาเข็มและค่าอัตาส่วนความปลอดภัยที่เราจะใช้ในการคำนวณหาค่า นน บรรทุกของเสาเข็มที่ยอมให้กันนะครับ

Pp คือ เส้นรอบรูปของเสาเข็ม
Ap คือ พท หน้าตัดของเสาเข็ม
Lp คือ ความยาวทั้งหมดของเสาเข็มที่วางอยู่ในชั้นดิน
Wp คือ นน บรรทุกทั้งหมดของเสาเข็ม
S.F. คือ SAFETY FACTOR หรือ อัตาส่วนความปลอดภัยที่เราจะใช้ในการคำนวณหาค่า นน บรรทุกของเสาเข็มที่ยอมให้

ต่อด้วยคุณสมบัติที่เราจะคำนวณได้จากค่า PARAMETER ของดินกันบ้างนะครับ

qf คือ ค่าแรงเสียดทานโดยเฉลี่ยตลอดความยาวของเสาเข็ม
qe คือ ค่าหน่วยแรงแบกทานที่ปลายล่างสุดของเสาเข็ม
Nf คือ ค่าแรงฉุดลงของเสาเข็ม

จากตัวย่อและข้อมูลข้างต้นเราก็จะสามารถคำนวณค่าความสามารถในการรับ นน บรรทุกของดินได้แล้วนะครับ โดยต่อไปเราจะมาดูตัวย่อของ นน บรรทุกต่างๆ ของเสาเข็มกันบ้างนะครับ

ค่า นน บรรทุกเสียดทานทั้งหมดของเสาเข็ม
Qf = (qf)(Pp)(Lp)

ค่า นน บรรทุกแบกทานทั้งหมดของเสาเข็ม
Qe = (qe)(Ap)

ค่า นน บรรทุกประลัยของตัวเสาเข็ม
Qu = Qf + Qe – Nf -Wp

ค่า นน บรรทุกแรงกดที่ยอมให้ของตัวเสาเข็ม
Qa(c) = (Qf + Qe)/(S.F.) – Nf -Wp

ค่า นน บรรทุกแรงดึงที่ยอมให้ของตัวเสาเข็ม
Qa(t) = (Qf)/(S.F.) + Wp

ไว้ในครั้งหน้าผมจะขอมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังถึงเรื่อง PARAMETER ที่สำคัญซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับการคำนวณหาค่า นน บรรทุกของเสาเข็มโดยตรง นั่นก็คือค่า SPT นั่นเองครับ 

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ 

ADMIN JAMES DEAN