การนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน | ไมโครไพล์ ภูมิสยามฯ

สวัสดีครับแฟนเพจ ภูมิสยามไมโครไพล์ ที่รักทุกๆ ท่าน ครับผม ๆ

ไมโครไพล์-micropile-เสาเข็มไมโครไพล์-เสาเข็มmicropile

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตคั่นการโพสต์เกี่ยวกับเรื่อง BORING LOG กันสัก 1 อาทิตย์นะครับเพราะว่าผมเพิ่งไปประสบพบเจอเข้ากับเหตุการณ์ๆ หนึ่งโดยบังเอิญและคิดว่าน่าจะยังมีเพื่อนๆ อีกหลายๆ คนที่อาจยังไม่ทราบข้อเท็จจริงประการนี้ จึงตัดสินใจที่จะนำเอาประเด็นๆ นี้มาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็คือ ระดับของหัวเสาเข็ม ที่ควรใช้เพื่อจะทำการตรวจสอบระยะการหนีศูนย์ หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า PILE DEVIATE นั่นเองครับ

จริงๆ แล้วระดับของหัวเสาเข็มที่ควรใช้เพื่อทำการสอบทานระยะการหนีศูนย์นั้นควรที่จะเป็น ระดับตัดหัวเสาเข็ม หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า PILE CUT OFF LEVEL แต่ เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างในการทำงานนั้นเรามักจะไม่สามารถที่จะรอให้ทำการเปิดดินเพื่อทำการตัดหัวเสาเข็มที่ระดับดังกล่าวได้ จึงนิยมที่จะใช้ระดับสูงขึ้นมาจากระดับดินเดิมในสถานที่ก่อสร้างประมาณ 5-10 ซม สาเหตุที่เรานิยมใช้ค่าระดับๆ นี้นั่นเป็นเพราะว่า ยิ่งเสาเข็มนั้นฝังตัวลงไปใต้ดินลึกเท่าใด เสาเข็มก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะยิ่งหนีศูนย์น้อยลงๆ มากเท่านั้นและในทางกลับกันยิ่งเราปล่อยให้เสาเข็มนั้นโผล่ขึ้นไปเหนือดินสูงขึ้นไปเท่าใด เสาเข็มก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดการหนีศูนย์มากยิ่งขึ้นเช่นกัน ซึ่งถามว่าค่าการหนีศูนย์จริงๆ ที่เราควรสนใจว่าเกิดขึ้นในเสาเข็มเป็นเท่าใดก็คือ ระดับที่ต้องทำการตัดหัวเสาเข็ม แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดดังที่ผมได้เอ่ยถึงข้างต้นเราก็จะอนุโลมทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์นี้ที่ระดับเหนือดินเดิมในสถานที่ก่อสร้างเล็กน้อย แต่ เราจะไม่ใช้ค่าการหนีศูนย์ที่ทำการตรวจสอบได้ที่ระดับหัวของเสาเข็มที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินโดยที่เรายังไม่ได้ทำการตัดหัวของเสาเข็มโดยเด็ดขาด ซึ่งสาเหตุนั้นมีหลายประการนะครับ แต่ หนึ่งในนั้นก็คือ มันไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่จะใช้ค่าการหนีศูนย์ของเสเข็มที่ระดับๆ นี้นั่นเป็นเพราะว่าอย่างไรเสียในความเป็นจริงแล้วตัวโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นก็ไม่ได้มีการวางตัวอยู่ในฐานรากของเราที่ระดับๆ นี้อยู่แล้ว เรามาดูตัวอย่างกันสักเล็กน้อยก็แล้วกันนะครับ

จากรูปเป็นภาพสเก็ตช์โครงสร้างเสาเข็มที่วางอยู่ในดินโดยที่เส้นสีน้ำเงินคือ ตำแหน่งของเสาเข็มที่ได้รับการออกแบบเอาไว้เดิม ส่วนเส้นสีแดงคือ ตำแหน่งของเสาเข็มที่เกิดจากการตอกจริงๆ 

หากเราเริ่มต้นทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่ระดับแรกนั่นก็คือ ระดับ PILE CUT OFF เราก็จะพบว่า ค่าการหนีศูนย์นั้นมีค่าเพียงแค่ 1.50 ซม เท่านั้น 

ต่อมาหากเราทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่ระดับที่สองนั่นก็คือ ระดับเหนือดินเดิมในสถานที่ก่อสร้างเล็กน้อย เราก็จะพบว่า ค่าการหนีศูนย์นั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 5.00 ซม (เพิ่มขึ้นจากค่าการหนีศูนย์จริงๆ ประมาณ 3 เท่าตัว)

สุดท้ายหากเราทำการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่ระดับหัวของเสาเข็มที่ไม่ได้รับการตัดเลย เราก็จะพบว่า ค่าการหนีศูนย์นั้นมีค่ามากถึง 8.00 ซม (เพิ่มขึ้นจากค่าการหนีศูนย์จริงๆ ประมาณ 5 เท่าตัว)

ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันใดเลยที่เราควรจะทำการสนใจค่าการหนีศูนย์ที่ระดับสุดท้ายนี้ เพราะมันเป็นค่าการหนีศูนย์ของเสาเข็มที่เกิดขึ้นมากจนเกินความเป็นจริงน่ะครับ

ดังนั้นหากว่าเสาเข็มของเรานั้นไมได้เกิดการเยื้องศูนย์มากขนาดนั้น เหตุใดจึงต้องทำการพิจารณาที่ค่าๆ นี้กัน เพราะ ต้องไม่ลืมว่า หากว่าเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจริงๆ การตรวจสอบ การแก้ไขดัดแปลงโครงสร้างของฐานรากอันเนื่องมาจากการที่เสาเข็มนั้นเกิดการหนีศูนย์ไปนั้นก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น แต่ จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเลยเพราะจะมีแต่ความสิ้นเปลืองเกิดขึ้นเพราะหากเกิดเหตุนี้ขึ้นจริงๆ การแก้ไขนั้นสามารถที่จะทำได้หลากหลายวิธีการและหนึ่งในนั้นก็คือ การขยายฐานราก ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทั้ง เวลา ค่าแรง เหล็กเสริม และ คอนกรีต ในการทำงานส่วนของฐานรากตรงนี้ไปมิใช่น้อยเลย ดังนั้นเราจึงนิยมที่จะทำการแก้ไขและดัดแปลงส่วนของงานวิศวกรรมฐานรากนี้ก็เฉพาะในกรณีที่เรามีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้นน่ะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี 
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ระดับของหัวเสาเข็มที่ใช้ในการตรวจสอบค่าการหนีศูนย์

ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449