ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ | ไมโครไพล์ ภูมิสยามฯ

สวัสดีครับแฟนเพจ ภูมิสยามไมโครไพล์ ที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมจะขออนุญาตพาเพื่อนๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกันกับปัญหาทั่วๆ ไปที่พวกเราทุกคนอาจจะมีโอกาสได้ไปพบเจอในการทำงานก่อสร้างจริงๆ เพราะทุกครั้งเมื่อเราพูดถึงปัญหาในการทำงานก่อสร้าง เราก็คงต้องยอมรับก่อนว่าในทุกๆ งานก่อสร้างย่อมต้องประสบพบเจอกับปัญหา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งก็ตามแต่ ไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือทำเป็นทีมก็ตามแต่ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างที่เล็กหรือใหญ่ก็ตามแต่ เนื่องมาจากเพราะงานก่อสร้างจำเป็นที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย เช่น เจ้าของงาน ผู้ออกแบบ ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง ฝ่ายการเงิน ฝ่ายบริหาร ผู้ควบคุมงาน หัวหน้าคนงาน คนงาน ผู้รับเหมาหลัก ผู้รับเหมาย่อย ผู้ควบคุมงาน ผู้จัดการโครงการ เป็นต้นนะครับ

ดังนั้นในวันนี้เราจะมาเริ่มต้นพูดถึงปัญหาที่เกิดจาก “ผู้รับเหมา” กันก่อนก็แล้วกัน โดยที่ปัญหาที่เกิดจาก ผู้รับเหมา ส่วนใหญ่ก็มีอยู่ด้วยกันหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งปัญหาหลักๆ ก็อาจจะได้แก่

1. ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง คน เช่น จำนวนคนงานอาจจะขาด ไม่เพียงพอต่อการทำงาน ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน ขาดมาตรฐานด้านงานฝีมือที่ไม่ดีเพียงพอ หรือ อาจชอบก่อความความขัดแย้ง หรือ ทะเลาะเบาะแว้งกันเอง เป็นต้นครับ

2. ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง การเงิน เช่น ไม่สามารถที่จะเบิกงวดได้ทำให้เงินเกิดหมุนไม่ทัน เป็นต้น ซึ่งปัญหาข้อนี้ยังถือได้ว่าเป็นชนวนสาเหตุของอีกหลายๆ ปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาอีกด้วยนะครับ

3. ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง วัสดุต่างๆ ในงานก่อสร้าง เช่น วัสดุอาจเกิดการขาดตลาด ทำให้ไม่สามารถที่จะส่งวัสดุเข้าไซต์งานได้ตามที่กำหนด หรือ การปรับขึ้นของราคาวัสดุ หรือ วัสดุอาจจะได้ไม่ตรงตามข้อกำหนดในงานก่อสร้าง เป็นต้นครับ

4. ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง เครื่องจักร เช่น เมื่อเกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรและไม่มีเครื่องจักรสำรองทำให้งานไม่สามารถที่จะดำเนินต่อไปได้ หรือ อาจจะไม่มีเครื่องจักรเป็นของตนเองและไม่สามารถที่จะทำการหาเช่าเครื่องจักรมาใช้ในการทำงานได้ เป็นต้นครับ

5. ปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง การบริหารงาน เช่น ผู้รับเหมาอาจไม่มีประสบการณ์ที่ดีเพียงพอ ทำให้การบริหารงานนั้นออกมาไม่ดีเพียงพอ หรือ การบริหารงานอาจจะไม่เด็ดขาดเพียงพอ หรือ เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้รับเหมาหลักและผู้รับเหมารายย่อย เป็นต้นนะครับ

สัปดาห์หน้าเราจะมาพูดถึงประเด็นอื่นๆ กันต่ออีกสักสัปดาห์ก็แล้วกันนะครับ ยังไงเพื่อนๆ ที่มีความสนใจในประเด็นๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมในตอนต่อไปได้นะครับ

#โพสต์ของวันอังคาร
#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
#ปัญหาทั่วๆไปงานในงานก่อสร้าง1


Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun Micro Pile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ?
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.MicroPile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449