สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ
เมื่อประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับเพื่อนๆ ในเฟซบุ้คส่วนตัวของผมเกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนต่างๆ ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเสา ซึ่งเนื้อหาในวันนั้นผมได้พูดถึงหลายๆ หัวข้อที่มีความน่าสนใจ เช่น ค่า MAGNIFICATION FACTOR ที่จะถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างเสาที่มีความชะลูดมากๆ เป็นต้น และในวันนั้นผมก็ได้รับปากเอาไว้ด้วยว่า ผมจะมาทำการอธิบายถึงหลักการสำคัญหลักการหนึ่งนั่นก็คือ เหตุใดเราจึงจะต้องให้ความสนใจและจะต้องนำเอาผลที่เกิดจาก P-Δ มาคำนึงถึงในการออกแบบโครงสร้างเสาของเราด้วย ดังนั้นวันนี้ผมได้ทำรูปประกอบเพื่อเป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมๆ นี้ให้กับเพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบไปพร้อมๆ กันนะครับ
เรามาเริ่มต้นจากรูปที่ 1 ก่อน ซึ่งเป็นรูปแบบของโครงสร้างเสาๆ หนึ่งซึ่งจะมีการรับแรงกระทำทางด้านข้างร่วมกันกับแรงกระทำตามแนวแกนด้วย ซึ่งเราจะให้นิยามของชิ้นส่วนโครงสร้างแบบนี้ว่าเป็น ชิ้นส่วนโครงสร้างคาน-เสา หรือ BEAM-COLUMN ELEMENT ซึ่งหากเราพิจารณาให้ดีๆ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องทำการพิจารณาให้โครงสร้างๆ นี้ตั้งอยู่เหมือนกันกับรูปโครงสร้างเสาจริงๆ ทางด้านซ้ายมือแต่เราอาจจะพลิกให้โครงสร้างๆ นี้นอนตัวลงไปเหมือนกันกับรูปโครงสร้างคานทางด้านขวามือก็ได้ ซึ่งน่าจะพิจารณาและมองเห็นภาพได้ง่ายกว่ามากนะครับ
รูปต่อมาก็คือรูปที่ 2 ซึ่งเราจะนำเอาหลักการของ SUPERPOSITION มาประยุกต์ใช้งานกับเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างคาน-เสานี้ ดังนั้นรูปๆ นี้ก็จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปย่อยนั่นก็คือ รูปชิ้นส่วนโครงสร้างคาน ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการแรงกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอที่มีค่าเท่ากับ W และ รูปชิ้นส่วนโครงสร้างเสา ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการแรงกระทำตามแนวแกนที่มีค่าเท่ากับ P นะครับ
รูปที่ 3 จะเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปชิ้นส่วนโครงสร้างคาน ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการแรงกระทำแบบแผ่กระจายตัวสม่ำเสมอที่มีค่าเท่ากับ W ซึ่งสำหรับรูปๆ นี้จะพบว่าไม่มีความยุงยากใดๆ ในการคำนวณเลยเพราะเราทราบดีว่าทั้งค่าแรงโมเมนต์ดัดและค่าการเสียรูปที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากค่าของแรง W นั้นสามารถที่จะทำการคำนวณหาออกมาได้ด้วยวิธีการที่มีความตรงไปตรงมาได้นะครับ
รูปที่ 4 จะเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปชิ้นส่วนโครงสร้างเสา ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการแรงกระทำตามแนวแกนที่มีค่าเท่ากับ P ซึ่งสำหรับรูปๆ นี้เราจะพบว่ามีความยุ่งยากบางประการเกิดขึ้นแล้วเพราะค่าการเสียรูปที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากค่าของแรง P นั้นจะต้องผ่านกระบวนการคำนวณด้วยสมการเชิงอนุพันธ์ ซึ่งก็ไม่สามารถที่จะทำการคำนวณกันได้ง่ายๆ ตรงไปตรงมา ดังนั้นเราก็จะให้ค่าการเสียรูปนี้ติดเป็นตัวแปรที่เรายังไม่ทราบค่าก่อนก็แล้วกันนะครับ
รูปที่ 5 ซึ่งเป็นรูปสุดท้ายแล้ว ซึ่งเรากำลังต้องการที่จะทราบว่าค่าแรงโมเมนต์ดัดสูงสุดที่จะเกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างคาน-เสานี้จะมีค่าเท่ากับเท่าใด ซึ่งก็จะประกอบไปด้วย 3 พจน์หลักๆ โดยพจน์ที่ 1 คือ ค่าแรงโมเมนต์ดัดที่เกิดจากแรงกระทำ W ส่วนพจน์ที่ 2 คือ ค่าแรงโมเมนต์ดัดที่เกิดจากแรงกระทำ P และค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่โครงสร้างนั้นมีพฤติกรรมเป็นคาน ซึ่งทั้ง 2 พจน์นี้จะไม่มีความยุ่งยากใดๆ ในการคำนวณเพราะทุกๆ ค่านั้นสามารถที่จะทำการคำนวณหาออกมาได้ด้วยวิธีการที่มีความตรงไปตรงมาได้ พจน์ที่ 3 ก็คือ ค่าแรงโมเมนต์ดัดที่เกิดจากแรงกระทำ P และค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่โครงสร้างนั้นมีพฤติกรรมเป็นเสาซึ่งเราได้ทำการติดเป็นตัวแปรที่เรายังไม่ทราบค่าเอาไว้ในรูปที่ 4 ก่อนหน้านี้ครับ
ดังนั้นหากเราทำการพิจารณาชิ้นส่วนโครงสร้างคาน-เสานี้ เราจะพบว่ามีค่าตัวแปรที่เรายังไม่ทราบค่าอยู่ 1 ค่า นั่นก็คือ ค่าการเสียรูปที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากค่าของแรง P หรือ ค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่โครงสร้างนั้นมีพฤติกรรมเป็นเสา ดังนั้นหากว่าเสาของเรานั้นมีค่าความยาวที่มากๆ และหน้าตัดเสาของเรานั้นมีขนาดที่ค่อนข้างที่จะเล็ก กล่าวคือ โครงสร้างเสาของเรานั้นมีค่าความชะลูดที่ค่อนข้างที่จะมาก นั่นก็จะทำให้โครงสร้างเสาของเรานั้นมีค่าการเสียรูปที่เกิดจากแรง P ที่มากและสุดท้ายก็จะส่งผลทำให้ค่าแรงโมเมนต์ดัดสูงสุดโดยรวมที่จะเกิดขึ้นในชิ้นส่วนโครงสร้างคาน-เสาของเรานั้นมีค่าที่มากตามไปด้วย ซึ่งลักษณะและรูปแบบดังกล่าวของโครงสร้างเสานี้เองจึงเป็นที่มาของการที่เราได้ทำการตั้งชื่อของพฤติกรรมนี้ว่า ผลที่เกิดจาก P-Δ นั่นเองครับ
ผมหวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ExplainingAboutPDeltaAffect
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam (ภูมิสยาม)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam