โครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่อาคารหลังนี้มีจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นอาคารถาวร หรือ PERMANENT BUILDING

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
หากเพื่อนๆ มีความประสงค์ที่จะทำการก่อสร้างอาคารที่มีขนาดความสูงเท่ากับ 2 ชั้น ซึ่งทางสถาปนิกได้เลือกทำการออกแบบและก่อสร้างโดยใช้วัสดุหลักเป็นโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ โดยที่อาคารหลังนี้มีจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นอาคารถาวร หรือ PERMANENT BUILDING มิใช่อาคารชั่วคราว หรือ TEMPORARY BUILDING ภายในอาคารหลังนี้ก็จะประกอบไปด้วยห้องต่างๆ ที่มีฟังก์ชั่นแตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้นก็คือห้องซึ่งจะทำหน้าที่เป็น “ห้องน้ำ” โดยที่ห้องๆ นี้จะตั้งอยู่ในบริเวณชั้น 2 ของอาคารหลังนี้ คำถามในวันนี้ก็คือ

เพื่อให้อายุการใช้งานของอาคารนั้นเป็นปกติ และ มีสมรรถนะในการใช้งานที่ดี ผมควรที่จะเลือกระบบโครงสร้างพื้นแบบใดเพื่อใช้เป็นพื้นของห้องๆ นี้ระหว่าง
(A) โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก หรือ STRUCTURAL STEEL GRATING
(B) โครงสร้างพื้นเหล็กแผ่นลาย หรือ STRUCTURAL STEEL CHECKERED PLATE
(C) โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ STRUCTURAL CONCRETE PRE-CAST SLAB
(D) โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ หรือ STRUCTURAL CONCRETE CAST-IN-PLACE SLAB

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาโครงสร้างพื้นที่จะถูกเลือกนำมาใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาช่วยกันหาคำตอบว่าระบบโครงสร้างพื้นแบบใดที่จะมีความเหมาะสมนำมาใช้ในการก่อสร้างห้องๆ นี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ

ตามที่ผมเคยได้แชร์ความรู้ไปก่อนหน้านี้ว่าหากเราจะทำการก่อสร้างพื้นในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณในพื้นที่ๆ จะต้องสัมผัสกับน้ำตลอดเวลานั้นเราอาจจะเลือกใช้งานพื้นระบบใดระบบหนึ่งได้ทั้งหมดจากตัวเลือกที่ผมได้ให้มา แต่ พอพิจารณาจากเงื่อนไขที่ปัญหาได้ให้มา ตัวอย่างเช่น ห้องๆ นี้จะตั้งอยู่ในบริเวณชั้น 2 ของอาคาร หรือ เพื่อให้อายุการใช้งานของอาคารนั้นเป็นปกติ และ มีสมรรถนะในการใช้งานที่ดี เป็นต้น เราอาจจะต้องทำการพิจารณาปัญหาข้อนี้ใหม่เพราะหากเลือกเป็นพื้นระบบ โครงสร้างพื้นตะแกรงเหล็กฉีก หรือ โครงสร้างพื้นเหล็กแผ่นลาย แสดงว่าเราต้องยอมให้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณของเราต้องสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นโดยตรงเพราะพื้นทั้งสองระบบนี้ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้กับตัวเองได้หรืออาจจะกักเก็บไว้ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ด้วยเหตุประการฉะนี้เองการเลือกระบบของพื้นให้เป็นทั้งสองระบบดังกล่าวย่อมที่จะไม่มีความเหมาะสมที่จะถูกนำมาใช้เป็นพื้นของห้องน้ำอย่างแน่นอน ก็จะเหลือพื้นเพียง 2 ระบบนั่นก็คือ โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และ โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ นะครับ

หากเราทำการเปรียบเทียบพื้นทั้ง 2 ระบบที่เหลือเราก็จะเห็นได้ว่าเราเลือกใช้งานระบบพื้นทั้งสองระบบนี้ได้ แต่ ความแตกต่างหลักๆ ระหว่างพื้นทั้ง 2 ระบบนี้ก็คือ โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป นั้นจะทำการก่อสร้างได้ยากกว่า โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ มากๆ เนื่องด้วยการก่อสร้างพื้นห้องน้ำจะต้องทำการเจาะและฝัง SLEEVE งานท่อต่างๆ ของงานวิศวกรรมระบบสุขาภิบาล ซึ่งหากเราเลือกใช้งานพื้นเป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป พื้นชนิดนี้จะทำการเจาะและฝัง SLEEVE ได้ยากมากๆ เพราะจะมีผลต่อเรื่องต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น มีผลต่อเรื่องความแข็งแรงเพราะไม่ว่าเราจะเลือกใช้งานพื้นให้เป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดตัน หรือ SOLID PLANK SLAB หรือจะเป็น โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดกลวง หรือ HOLLOW CORE SLAB ก็ตาม เวลาที่ทำการเจาะพื้นชนิดนี้ก็จะมีโอกาสที่จะต้องเจอกับ ลวดอัดแรง หรือ PRESTRESSING WIRES ที่อยู่ภายในแผ่นพื้นนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งวิธีการทำงานที่ควรจะทำก็คือ ทำเป็นช่องเปิด เพื่อที่จะใช้เป็นช่อง SHARP เพื่อที่จะใช้เดินงานระบบโดยเฉพาะเลย ซึ่งต่อให้ทำตามวิธีการดังกล่าว พื้นระบบนี้ก็ยังต้องทำการติดตั้งด้วยระบบกันซึมเป็นอย่างดีอีกด้วยจึงจะสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ซึ่งนี่ยังไม่ได้ทำการนับรวมผลจากการที่เราต้องคอยดูแลรักษาพื้นชนิดนี้ต่อไปในอนาคต เป็นต้นนะครับ

ซึ่งก็จะทำให้เหลือเพียงตัวเลือกสุดท้ายนั่นก็คือ โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ และถึงแม้ว่าระบบของพื้นชนิดนี้จะไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องต่างๆ เหมือนกันกับระบบ โครงสร้างพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น การเจาะและวาง SLEEVE เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องนำเอาเทคนิคในการก่อสร้างอื่นๆ ที่มีความจำเป็นในการก่อสร้างห้องน้ำภายในอาคารที่ก่อสร้างโดยอาศัยโครงสร้างเหล็กรูปพรรณอยู่ดีนะครับ
ดังนั้นคำตอบที่น่าจะมีความเหมาะสมตรงตามลักษณะและเงื่อนไขของปัญหาข้อนี้มากที่สุด ที่เราอาจจะเลือกนำมาใช้งานก็คือ ข้อ (D) โครงสร้างพื้นคอนกรีตหล่อในที่ นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาโครงสร้างพื้นที่จะถูกเลือกนำมาใช้งานในโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com