โครงสร้างประเภท โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

หลังจากที่ในหลายๆ สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นผมได้นำเอาความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับโครงสร้างประเภท โครงสร้างหลังคายื่น หรือ CANOPY ROOF STRUCTURE เอามาฝากเพื่อนๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากจะขอทำการหยิบยกตัวอย่างข้อมูลตามที่ผมเคยได้ให้คำอธิบายไปแล้วก่อนหน้านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันบ้าง ซึ่งน่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกๆ คนซึ่งในตัวอย่างของผมในวันนี้ผมได้ทำการจำลองโครงสร้างหลังคายื่นในซอฟต์แวร์ทางไฟไฟนต์อีลีเม้นต์ โดยผมได้ทำการเปรียบเทียบเอาไว้เป็นกรณีๆ ไปด้วยนะครับเรามาเริ่มต้นจากสองรูปทางด้านซ้ายมือก่อน รูปแรกคือรูปซ้ายมือ-ซ้ายมือสุด ซึ่งก็จะเป็นรูปโครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรงเลย ซึ่งผมเคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้วคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ ต้องเป็นจุดต่อแบบยึดแน่นหรือ RIGID SUPPORT ส่วนรูปที่สองคือรูปทางขวามือ-ซ้ายมือสุด ผมต้องการที่จะเปรียบเทียบให้เพื่อนๆ ได้เห็นว่าหากว่าคุณลักษณะของจุดต่อนั้นเป็นแบบอื่น เช่น จุดต่อแบบอย่างง่ายหรือ SIMPLE SUPPORT เป็นต้น ผลของมันจะเป็นเช่นใดนะครับ

ต่อมาก็คือ สองรูปตรงกึ่งกลางบ้าง ซึ่งก็จะเป็นรูปโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงแต่ทั้งสองรูปนี้จะมีความแตกต่างกันที่คุณลักษณะของจุดต่อหรือ BOUNDARY CONDITIONS ซึ่งรูปทางด้านซ้ายมือ-ตรงกึ่งกลาง ก็จะเป็นไปตามที่ผมเคยได้ทำการอธิบายไปก่อนหน้านี้แล้วว่าคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบกึ่งยึดแน่นหรือ SEMI-RIGID SUPPORT ส่วนรูปทางด้านขวามือ-ตรงกึ่งกลาง ผมต้องการที่จะเปรียบเทียบให้เพื่อนๆ ได้เห็นว่าหากว่าคุณลักษณะของจุดต่อนั้นเป็นแบบอื่น เช่น จุดต่อแบบอย่างง่ายหรือ SIMPLE SUPPORT เป็นต้น ผลของมันจะเป็นเช่นใดนะครับ

รูปสุดท้ายก็รูปทางด้านขวามือสุด ซึ่งก็จะเป็นรูปโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด ซึ่งผมเคยได้ทำการอธิบายไปก่อนหน้านี้แล้วว่าคุณลักษณะของจุดต่อขั้นต่ำที่สุดก็คือ เป็นจุดต่อแบบอย่างง่ายหรือ SIMPLE SUPPORT นะครับ
โดยที่ต่อไปผมจะแสดงให้เห็นถึงผลที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้าง ซึ่งผมขอให้เพื่อนๆ นั้นทำการสังเกตดูได้จากเส้นสีเขียวอ่อน ซึ่งก็จะเป็นเส้นที่จะช่วยในการบ่งบอกให้ถึงรูปแบบของการเสียรูปที่จะเกิดขึ้นในโครงสร้างหลังคายื่นของเรานะครับ


เรามาเริ่มต้นกันที่รูปที่ 1 กันก่อน ซึ่งจะเป็นกรณีของแรงกระทำในแนวดิ่งในทิศทางลง หรือ GRAVITY-DROWNWARD DIRECTION กันก่อน โดยจะเห็นได้ว่า โครงสร้างหลังคายื่นทุกๆ รูปจะมีการเสียรูปไปในทิศทางและรูปแบบที่เป็นปกติยกเว้นเพียงแค่รูปเดียวนั่นก็คือ โครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรงเลยที่อยู่ในรูปทางขวามือ-ซ้ายมือสุด ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปว่า หากเรากำหนดให้คุณลักษณะของจุดต่อนั้นเป็นแบบอื่น อาทิเช่น จุดต่อแบบอย่างง่าย เป็นต้น นั่นก็จะทำให้โครงสร้างนั้นเกิดความไม่มีเสถียรภาพขึ้น ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าค่าการเสียรูปของโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปในรูปแบบที่มีความผิดปกตินะครับ


เรามาต่อกันที่รูปที่ 2 กันเลย ซึ่งจะเป็นกรณีของแรงกระทำในแนวดิ่งในทิศทางขึ้น หรือ GRAVITY-UPWARD DIRECTION กันบ้าง โดยจะเห็นได้ว่า โครงสร้างหลังคายื่นทุกๆ รูปจะมีการเสียรูปไปในทิศทางและรูปแบบที่เป็นปกติยกเว้นเพียงแค่สองรูปนั่นก็คือ โครงสร้างหลังคายื่นที่ไม่อาศัยชิ้นส่วนอื่นๆ ในการรับแรงเลยที่อยู่ในรูปทางขวามือ-ซ้ายมือสุด และ รูปทางด้านขวามือ-ตรงกึ่งกลาง ซึ่งก็จะเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปว่า หากเรากำหนดให้คุณลักษณะของจุดต่อนั้นเป็นแบบอื่น อาทิเช่น จุดต่อแบบอย่างง่าย เป็นต้น นั่นก็จะทำให้โครงสร้างนั้นเกิดความไม่มีเสถียรภาพขึ้น ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าค่าการเสียรูปของโครงสร้างที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นไปในรูปแบบที่มีความผิดปกติเช่นเดียวกันนะครับ

เอาละ เรามาสรุปกันทิ้งท้ายโพสต์ๆ นี้สักเล็กน้อยก็แล้วกัน หากว่าโครงสร้างที่เพื่อนๆ นั้นมีความต้องการที่จะทำการออกแบบจะต้องรับแรงทั้งในสองทิศทางนั่นก็คือ ทั้งในทิศทางขึ้นและในทิศทางลง โครงสร้างหลังคายื่นที่มีชิ้นส่วนรับแรงอัดนั้นก็จะมีความสามารถในการรับแรงดึงด้วยเนื่องด้วยตัวชิ้นส่วนของโครงสร้างนั้นมีค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกนที่ค่อนข้างจะมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้วแต่เนื่องด้วยโครงสร้างหลังคายื่นที่มีชิ้นส่วนรับแรงดึงเพียงอย่างเดียวจะมีตัวชิ้นส่วนของโครงสร้างที่มีค่าความแข็งเกร็งตามแนวแกนที่ค่อนข้างน้อยๆ มากจนอาจจะเรียกว่ามี่ค่าเท่ากับศูนย์เลยก็ได้ ด้วยเหตุผลนี้เองจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการกำหนดให้รายละเอียดต่างๆ ของโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงดึงนั้นมีค่า REDUNCANCY ของโครงสร้างที่สูงกว่าโครงสร้างหลังคายื่นที่อาศัยชิ้นส่วนในการรับแรงอัด ทั้งนี้ก็เพื่อให้โครงสร้างหลังคายื่นของเรานั้นสามารถที่จะมีการใช้งานอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ภายใต้ลักษณะของการรับน้ำหนักบรรทุกๆ ประเภทตลอดอายุการใช้งานของตัวโครงสร้างนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันพุธ
#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง
#ความรู้เรื่องโครงสร้างหลังคายื่น
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

ต้องการตอกเสาเข็ม
สปันไมโครไพล์
ปรึกษาทีมงาน

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com