ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1364996836879771
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
ผมเชื่อว่าในหลายๆ วันที่ผ่านมาผมได้อธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้เพื่อนๆ สามารถที่จะทำการคำนวณหาค่าการโก่งตัวในโครงสร้าง คสล ได้แล้วนะครับ ในวันนี้ผมจึงอยากจะมาแสดงโปรแกรมที่ผมเขียนไว้บนเครื่อง TI-92 Plus ซึ่งจะเป็นโปรแกรมช่วยในการคำนวณหาค่า PARAMETER ต่างๆ ที่มีความสำคัญเพื่อช่วยในขั้นตอนการคำนวณหาค่าการโก่งตัวให้สามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นนะครับ เรามาเริ่มต้นดูกันเลยนะครับ
ในรูปที่ 1
เราต้องไปเลือกดึงโปรแกรมที่เราจะใช้งานมาก่อนนะครับ โดยใน LIBRARY ของโปรแกรมที่ผมเขียนเอาไว้จะพบว่ามีโปรแกรมเพื่อใช้ในการออกแบบงานต่างๆ อยุ่มากมายเลยนะครับ ซึ่งโปรแกรมในครั้งนี้ของเราจะอยู่ใน FOLDER ที่มีชื่อว่า RCWDM หรือ RC โดยวิธีการ WORKING DESIGN METHOD สาเหตุที่ต้องเลือกใช้โปรแกรมที่ออกแบบโดยวิธีการนี้เพราะว่าค่า DEFLECTION ที่เราทำการจรวจสอบนั้นจะเกิดขึ้นในช่วงสภาวะการใช้งาน ดังนั้นเราจะคำนึงถึงให้สอดคล้องกันกับสภาวะที่ต้องการนั่นเองครับ
ในรูปที่ 2
พอเราเลือกมาให้อยู่ที่หน้าจอ HOME ก็ต้องทำการปิดวงเล็บเสียก่อนนะครับ
ในรูปที่ 3
โปรแกรมจะขึ้นข้อความอธิบายขีดความสามารถของโปรแกรม และ ผู้ทำการ CODE ตัวโปรแกรมให้เราทราบเสียก่อนนะครับ
ในรูปที่ 4
เราใส่หมายเลขคานเข้าไปนะครับ ในที่นี้ผมใช้ชื่อคานว่า B1
ในรูปที่ 5
เราจะกำหนดให้สัญลักษณ์หาก PROGRAM DETECT เจอว่ามีการเสริมเหล็กรับแรงอัดในโปรแกรมนอกจากเหล็กเสริมรับแรงดึง โดยจะ INPUT ในขั้นตอนนี้อย่างไรก็ได้นะครับ เพราะสุดท้ายก็จะไปแสดงอยู่ในรายการคำนวณนั่นเองครับ ในที่นี้หากเสริมเหล็กรับแรงดึงอย่างเดียวจะให้ขึ้นเป็นคำว่า SINGLY และหากเสริมเหล็กรับแรงอัดด้วยจะให้ขึ้นเป็นคำว่า DOUBLY
ในรูปที่ 6
ต่อมาเราจะทำการ INPUT ค่า PROPERTIES ของ SECTION ลงไปนะครับ โดยผมจะใช้ ตย เดิมนะครับ คือ ขนาดความกว้างของคานเท่ากับ 20 cm และ ความลึกเท่ากับ 60 cm ขนาดของระยะหุ้มของคอนกรีตกับเหล็กเสริมเท่ากับ 3 cm และผมจะใช้ระยะห่างระหว่าง แถวของเหล็กเสริมในแนวตั้ง และ เหล็กเสริมในแนวนอน ตามที่ CODE ระบุให้ใช้นะครับ
ในรูปที่ 7
โปรแกรมจะขึ้นข้อความเพื่อเป็นการยืนยันกับเราว่าขนาดของระยะห่างของเหล็กเสริมในแนวตั้งตามที่ CODE ระบุ โดยจะประเมินจากขนาดของเหล้กร่วมด้วย โดยท้ายที่สุดจะใช้ค่ามากกว่าในการควบคุมการออกแบบด้วยครับ
ในรูปที่ 8
โปรแกรมจะขึ้นข้อความเพื่อเป็นการยืนยันกับเราว่าขนาดของระยะห่างของเหล็กเสริมในแนวนอนตามที่ CODE ระบุ โดยจะประเมินจากขนาดของเหล้กร่วมด้วย โดยท้ายที่สุดจะใช้ค่ามากกว่าในการควบคุมการออกแบบด้วยครับ
ในรูปที่ 9
โปรแกรมจะขึ้นเป็น OPTION ให้เราเลือกว่าเราต้องการที่จะทำการ ออกแบบ หรือ วิเคราะห์ หน้าตัด คสล ของเรา ซึ่งในที่นี้เราจะทำการวิเคราะห์หน้าตัดนัะครับ
ในรูปที่ 10
โดยประเภทของการวิเคราะห์หน้าตัดนั้นจะมี 2 แบบ คือ วิเคราะห์กำลังต้านทานการดัด และ วิเคราะห์ค่า PARAMETER ที่จะใช้ในการต้านทานการโก่งตัว ซึ่งเราจะเลือกตัวที่ 2 นะครับ
ในรูปที่ 11
ต่อมาเราจะทำการ INPUT ค่าโมเมนต์ดัดใช้งาน ซึ่งผมได้เลือกเอาหน้าตัดที่กึ่งกลางมาทำให้เพื่อนๆ ดูนะครับ คือ ค่าโมเมนต์ดัดใช้งานเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5,250 kgf-m หรือ 5.25 T-m และ ผมจะเลือกกรณีที่ นน บรรทุกคงค้างนานสูงสุด คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี เลยนะครับ
ในรูปที่ 12
ต่อมาก็คือทำการคำนวณหาค่าต่างๆ ที่เราจะใช้ในการคำนวณ เช่น ค่า fc’ ค่า fc = 0.4fc’ ค่า fs = 0.5fy ค่า n = Es/Ec เป็นต้นนะครับ
ในรูปที่ 13
ต่อมาทำการ INPUT ค่าคุณสมบัติต่างของเหล็กเสริม ไม่ว่าจะเป็นระยะจากขอบด้านรับแรงดึงถึง C.G. ของเหล็กเสริมในแต่ละแถว ซึ่งในที่นี้ผมใช้ระยะห่างเท่ากับ = 30+9+20/2 = 49 ~ 50 mm และ ขนาดหน้าตัดเหล็กคือ 2DB20mm ดังนั้น As = 2×3.14 cm^(2)
ในรูปที่ 14
ต่อมาทำการ INPUT ค่าคุณสมบัติต่างของเหล็กเสริม ไม่ว่าจะเป็นระยะจากขอบด้านรับแรงอัดถึง C.G. ของเหล็กเสริมในแต่ละแถว ซึ่งในที่นี้ผมใช้ระยะห่างเท่ากับ = 30+9+12/2 = 45 ~ 50 mm และ ขนาดหน้าตัดเหล็กคือ 2DB12mm ดังนั้น As = 2×1.13 cm^(2)
ในรูปที่ 15
ขั้นตอนนี้เป็นการ INPUT ค่า SHEAR REINFORCEMENT ทั้งนี้ในปัจจุบันผมยังไมไ่ด้ CODE ให้โปรแกรมสามารถคำนวณค่า CONFINEMENT AFFECT ที่จะมีผลต่อค่าการโก่งตัวนะครับ เพียงแต่เตรียมการเอาไว้แล้ว เร็วๆ นี้ว่างเมื่อใดเจอกันแน่นอนครับ
ในรูปที่ 16
ในรูปนี้หากโปรแกรมพบว่าเรามีการเสริมเหล็กรับแรงอัดด้วย โปรแกรมก็จะถามเราก่อนนะครับว่าเราต้องการนำผลของการเสริมเหล็กรับแรงอัดนี้เข้าไปในการคำนวณด้วยหรือไม่ ซึ่งหากว่าการเสริมเหล็กของเรานั้นมีความยาวสม่ำเสมอและตลอดช่วงความยาวของคานเราก็ควรที่จะนำผลของการเสริมนี้มาคำนวณด้วยนะครับ
ในรูปที่ 17
โปรแกรมจะเริ่มทำการคำนวณแล้วนะครับ โดย DISPLAY แรกนั้นจะเป็นค่า พท หน้าตัดต่างๆ และ อัตราส่วนต่างๆ ของเหล็กเสริมแต่ละชนิดที่เราทำการ INPUT เข้าไป และ ระยะประสิทธิผลต่างๆ ของหน้าตัดด้วยนะครับ
ในรูปที่ 18
จะเห็นว่าโปรแกรมจะแจ้งผลการคำนวณมาเลยนะครับว่าค่าต่างๆ เป็นอย่างไร เช่น ค่าโมดูลัสการแตกร้าว ค่าโมเนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดเต็ม หรือ Ig ค่าโมเมนต์ดัดที่จะทำให้เกิดค่าโมเนต์ความเฉื่อยของหน้าตัดแตกร้าว หรือ Mcr และ Icr ตามลำดับ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ค่าโมเมนต์ความเฉื่อยประสิทธิผล หรือ ค่า Ieff ซึ่งหากค่า Ma > Mcr ค่า Ieff ก็จะมีค่าน้อยกว่าค่า Icr และ Ig เสมอนะครับ
ซึ่งผลของค่า Ieff จาก ตย นี้คือ 193,413 cm^(4) หรือ 0.00193413 m^(4) ในตอนท้ายยังมีการคำนวณหาค่า TIME DEPENDENT PARAMETER มาให้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะได้นค่าๆ นี้ไป INPUT ในการคำนวณหาค่า TIME DEPENDENT DEFLECTION ของหน้าตัดในขั้นตอนการคำนวณถัดไปนั่นเองครับ
ในรูปที่ 19
ต่อใาโปรแกรมก็จะถามเราครับว่าต้องการจะดำเนินการสิ่งใดต่อไป โดยเราจะกลับไปเริ่มคำนวณใหม่ กลับไปดูการ INPUT หรือ ผลการวิเคราะห์ที่ผ่านมา จะดำเนินการคำนวณหาค่า DEFLECTION ต่อ หรือ จะออกจากโปรแกรมก็เป็นสิทธิ์ของเราครับ ในที่นี้ผมจะยุตื ตย ข้อนี้ลงแต่เพียงเท่านี้ จึงเลือกที่จะออกจากโปรแกรมนะครับ
ในรูปที่ 20
เพียงเท่านี้ก็จะเป็นการออกจากโปรแกรมแลวครับ โดยหากเปิดตัวโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ผลการ INPUT ก่อนหน้านี้ก็จะยังคงอยู่ตามเดิมครับ
ที่ผมนำการใช้งานโปรแกรมมาให้เพื่อนดูนั้นก็เพื่อที่จะให้เพื่อนๆ เห็นนะครับว่าขั้นตอนการคำนวณในกระบวนของงานออกแบบนั้นจะไม่ได้ลึกล้ำ หรือ ยากเย็นจนเกินไปที่เราจะคำนวณได้นะครับ เพียงแต่จะเป็นขั้นตอนการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน บางครั้งต้องอาศัยกระบวนการ ITERATIVE หรือ TRIAL & ERROR ค่าต่างๆ จนกว่า OUTPUT ที่ได้จากการออกแบบจะสามารถ SATISFY ข้อกำหนดต่างๆ ของงานออกแบบได้ ดังนั้นการที่เรามีเครื่องมือที่ดี ที่ช่วยให้งานออกแบบของเรานั้นทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นก็ย่อมที่จะส่งผลดีและความง่ายดายต่องานคำนวณของเรานะครับ ดังนั้นขอเพียงแต่เพื่อนๆ มีเครื่องมือสักตัวหนึ่ง จะเป็นอะไรก็ได้นะครับที่เพื่อนๆ ถนัด ก็ขอให้เรารู้จักที่จะนำมันมาใช้งานก็จะเป็นการเพียงพอแแล้วครับ ยังไงผมขออวยพรให้ทุกๆ ท่านมีความสุข สนุก และ โชคดี ในการคำนวณและทำงานออกแบบนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586