การใส่เหล็กปลอกเข้าไปในจุดต่อระหว่างคานและเสา

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ

 

หลังจากงานประชุมผมได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ มากมายในไทเป ซึ่งแต่ละสถานที่ต้องขอบอกเอาไว้เลยว่ามีความน่าประทับใจมากๆ เพราะเรื่องแผ่นดินไหวในบ้านเมืองเค้าเป็นปัญหาใหญ่มากๆ เค้าจึงกล้าที่จะทุ่มงบประมาณมหาศาลให้กับการศึกษาและวิจัยในเรื่องๆ นี้โดยไม่ลังเล ยังไงหลังจากที่ผมกลับจากไต้หวันแล้ว ผมจะขออนุญาตทยอยนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่มีความน่าสนใจๆ เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ

 

สำหรับวันนี้ผมจะขอนำเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เป็นประสบการณ์ที่ผมได้รับในการไปเยือนไต้หวันในครั้งนี้มาเล่าสู่กันฟัง นั่นก็คือเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนที่ผมกำลังเดินทางกลับเข้าโรงแรมที่พัก ก่อนที่จะถึงโรงแรมประมาณสัก 1 กิโลเมตร ผมได้เดินผ่านสถานที่ก่อสร้างแห่งหนึ่ง โดยที่ผมพยายามที่จะมองเข้าไปและได้มองเห็นรายละเอียดหลายๆ อย่างในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กก็พบว่า งานวิศวกรรมโครงสร้างของเค้าได้รับการก่อสร้างเป็นไปตามข้อกำหนดในเรื่องอาคารต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวจริงๆ และหนึ่งในรายละเอียดเหล่านั้นก็คือหัวข้อของการพูดคุยกันในวันนี้นั่นก็คือการใส่เหล็กปลอกเข้าไปในจุดต่อระหว่างคานและเสานั่นเองครับ

ก่อนอื่นผมต้องขอให้เพื่อนๆ ดูจากรูปประกอบรูปที่ 1 ก่อน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงวิธีการทำงานในทั้งสองรูปแบบ โดยที่รูปแบบแรกก็คือ รูปทางด้านบนซึ่งเป็นรายละเอียดของการทำงานสำหรับกรณีที่โครงสร้างนั้นมีลักษณะเป็นแบบทั่วๆ ไป ก็จะสามารถเห็นได้ว่าเหล็กปลอกของเสาที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสานั้นไม่มีข้อกำหนดใดๆ ว่าจะต้องใส่เข้าไป แต่พอมาถึงรูปทางด้านล่างบ้างซึ่งเป็นรายละเอียดของการทำงานสำหรับกรณีที่โครงสร้างต้องรับแรงกระทำจากแผ่นดินไหว ก็จะสามารถเห็นได้ว่าเหล็กปลอกของเสาที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสานั้นมีข้อกำหนดว่าจำเป็นที่จะต้องใส่เข้าไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

หากเลื่อนไปดูรูปที่ 2 เพื่อนๆ ก็จะเห็นตัวอย่างของการทำงานรายละเอียดของเหล็กเสริมที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสาที่ทางสถาบันวิศวกรรมแผ่นดินไหวของไต้หวันได้ทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาและประชาชนทั่วๆ ไปได้ดูกัน ก็จะเห็นได้เช่นกันนะครับว่าเหล็กปลอกของเสาที่อยู่ภายในจุดต่อระหว่างคานและเสานั้นจะถูกกำหนดให้มีการใช้งานอยู่อย่างหนาแน่นเลย

 

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าเมื่อมีแรงกระทำอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวเข้ามากระทำกับโครงสร้างที่มีระบบเป็นโครงข้อแข็งที่เป็นคาน-เสา เราจะทำการกำหนดให้คานนั้นเป็นองค์อาคารที่ทำหน้าที่ในการสลายพลังงานที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินไหว ดังนั้นเราจึงอาจจะสามารถพบความเสียหายอันเนื่องมาจากการเกิดการครากของเหล็กเสริมที่บริเวณจุดต่อระหว่างคานและเสาได้ โดยที่บริเวณจุดต่อที่จะเกิดการวิบัติดังกล่าวนี้ เราจะมีชื่อเรียกรูปแบบของการวิบัติแบบนี้ว่า การวิบัติแบบมีความเหนียว หรือ DUCTILE FAILURE หรือที่พวกเรานิยมเรียกผลลัพธ์จากการเกิดการวิบัติแบบนี้ว่า จุดหมุนพลาสติก หรือ PLASTIC HINGES ดังนั้นหากเราสามารถที่จะทำการควบคุมให้คานในโครงสร้างของเรานั้นพัฒนากำลังไปจนถึงจุดครากได้ก่อนการที่รูปแบบของการวิบัติแบบอื่นๆ จะเกิดขึ้นในโครงสร้างคานหรืออาจจะเกิดขึ้นในโครงสร้างอื่นๆ นั่นก็จะทำให้ระบบโครงสร้างของเรานั้นจะเกิดภาระต่างๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น จุดต่อระหว่างคานและเสาของเราจะต้องรับโมเมนต์ดัดปริมาณมหาศาล ซึ่งนั่นก็จะรวมไปถึงค่ามุมหมุนที่จุดต่อๆ นี้จะต้องทำหน้าที่รับด้วย หรือ คานของเรานั้นจะเกิดค่าการเสียรูปในปริมาณมากและในที่สุดก็จะทำให้เกิดกลไกของการสลายของแรงแผ่นดินไหวได้ เป็นต้น

 

ปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคานในระบบโครงสร้างของเรานั้นไม่ได้มีพฤติกรรมเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น โดยอาจเกิดความเสียหายในรูปแบบอื่นๆ ที่เราไม่ต้องการให้เป็น เช่น เกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากเฉือนขึ้นในคานจนในที่สุดทำให้คอนกรีตนั้นเกิดการกะเทาะหลุดล่อนออกมาและอาจจะสามารถเห็นเหล็กเสริมที่อยู่ภายในนั้นเกิดการเสียรูปไป เป็นต้น ดังนั้นการเสริมเหล็กในคานเพื่อที่จะให้สามารถมีกลไกในการสลายพลังงานเพื่อใช้เป็นระบบโครงสร้างที่จะทำหน้าที่ในการต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวอย่างที่เราตั้งสมมติฐานในการออกแบบเอาไว้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องเน้นที่การใส่เหล็กปลอกที่บริเวณจุดต่อระหว่างคานและเสานั่นเองครับ

 

ต่อไปผมจะเลือกนำเอาเรื่องราวอะไรที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและน่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ มาแชร์หรือมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกในขณะที่ผมอยู่ในประเทศไต้หวัน ผมก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั้นช่วยกันติดตามอ่านบทความของผมได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com