สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตนำ ตย CASE STUDY กรณีของงานออกแบบงานหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสไปพบเจอมาจริงๆ เล่าสู่กันฟังให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ การทำงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง หรือ DRY PROCESS BORED PILE นะครับ
เรื่องมีอยู่ว่าโครงการนี้ผมไม่ได้เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรโครงสร้างตั้งแต่ครั้งแรก พอเริ่มต้นทำงานก่อสร้างไปสักพักทางสถาปนิกผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นพี่ชายที่ผมเคารพบนับถือได้ติตต่อมาที่ผมและได้เล่าถึงปัญหาที่พบว่า
เกิดปัญหาตรงที่ เมื่อได้ทำการก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบแห้งไปได้ที่ความลึกประมาณ 12 ม ไม่เกิน 13 ม ก็ต้องหยุดการเจาะเสาเข็ม เพราะ ที่ชั้นดินชั้นนี้พบว่าไม่สามารถที่จะเจาะต่อได้แล้ว โดยที่อาการคือ หลุมเจาะพังทลายลงมา คล้ายๆ กับว่าเจอน้ำใต้ดิน ทาง ผรม ทำงานเสาเข็มเจาะจึงทำการเจาะเสาเข็มได้ลึกเพียงที่ระดับดินนี้
ผมจึงได้สอบถามและให้คำแนะนำไปว่า มีการทำการเจาะสำรวจดินหรือไม่ ?
ซึ่งคำตอบคือไม่มี
ผมจึงได้ให้คำแนะนำไปว่าให้ทำการเจาะสำรวจดินเพื่อตรวจสอบชั้นดินเสียก่อน และ ในขณะเดียวกันก็ให้ทำการลองสอบเทียบขนาดความยาวของเสาเข็มเจาะในโครงการก่อสร้างใกล้เคียงควบคู่ไปด้วย
ผลจากการสอบถามปรากฏว่า ความยาวของเสาเข็มเจาะในบริเวณพื้นที่ข้างเคียงนั้นสามารถทำได้ลึกถึง 21 ม เลย และ ผลของการเจาะสำรวจดินเป็นดังรูปที่ผมแสดงไว้ในรูปครับ
คำถาม คือ เหตุใดการเจาะเสาเข็มในโครงการนี้ถึงเจาะได้ที่ความลึกแค่ 12 ม ไม่เกิน 13 ม ทั้งๆ ที่จะเห็นได้จากข้อมูลดินนะครับว่าชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างแห่งนี้เป็นชั้นดินเหนียวทั้งหมดเลย หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ เรายังไม่เจอแม้กระทั่งทรายชั้นแรกเลยด้วยซ้ำไป จะเป็นไปได้อย่างไรที่น้ำจะทะลักเข้ามาจนหลุมเจาะนั้นเกิดการพังทลายลงมา ?
ต่อมาพอผมถูกว่าจ้างให้เป็นวิศวกรโครงสร้าง ได้รับมอบหมายให้มาทำการออกแบบแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผมก็ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในที่สุดผมก็พบคำตอบของปัญหา นั่นก็คือ ชั้นดินบริเวณนี้เป็น ชั้นดินเหนียวอ่อนมาก ถึง ชั้นดินเหนียวอ่อนปานกลาง เพราะ จะเห็นได้จากแผนภูมิว่าค่า SPT ที่ระดับความลึกดังกล่าวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4 BLOWS/FOOT ไม่เกิน 5 BLOWS/FOOT เท่านั้น ซึ่งหากจำแนกชั้นดินออกมาก็จะพบได้ว่าเป็นชั้นดินประเภท CLAY ที่มีระดับของความแข็งแรงของชั้นดินเพียง SOFT และไม่เกิน MEDIUM เพียงเท่านั้น แต่ ปัญหานี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้นหากว่าทาง ผรม นั้นมี ความรู้ และ ความคุ้นเคย กับการทำงานในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ นะครับ เพราะ วิธีการทำงานเมื่อเราต้องพบเจอกับสถานการณ์แบบนี้ คือ เมื่อทำการเจาะดินไปถึงระดับนี้ เราก็ควรที่จะทำการคาปลอก หรือ CASING เอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งรีบถอนขึ้นมา หรือ ไม่ก็อาจจะใช้สารจำพวก BENTONITE เพื่อช่วยให้หลุมเจาะนั้นคงสภาพอยู่ได้โดยไม่พังทลายลงมา แต่ เนื่องจากการทำงานในครั้งนี้ไม่ได้มีการทำการเจาะสำรวจดินก่อนเริ่มต้นงานก่อสร้าง ซ้ำร้ายทาง ผรม งานเสาเข็มเจาะเองนั้นก็ขาด ความรู้ ความชำนาญ ในการทำงานในพื้นที่บริเวณดังกล่าว พอทำการหย่อนปลอกลึกลงไปในดินที่ระดับประมาณ 10 ม กว่าๆ ก็รีบทำการถอนปลอกขึ้นมาเร็วเกินไป โดยที่ไม่ได้ทำการคาปลอกเอาไว้ก่อน และ ก็ไม่ได้มีการใช้สารจำพวก BENTONITE เพื่อช่วยให้หลุมเจาะนั้นคงสภาพ จึงเป็นเหตุผลของปัญหาดังกล่าวนั่นเองนะครับ
เอาละครับ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไปแล้ว ผมก็ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่นำมาแชร์นี้ไมไ่ด้มีเจตนาหรือต้องการที่จะหาคนผิดหรืออะไร แต่ เหตุผลจริงๆ คือ อยากให้พวกเราทุกๆ คนนั้นได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มากกว่านะครับ
พวกเราจะสามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ครับ ?
ผมสรุปออกมาได้ทั้งหมด 5 ข้อดังต่อไปนี้นะครับ
- การทำการเจาะสำรวจดินก่อนเริ่มต้นทำการก่อสร้างเป็นสิ่งจำเป็น
- หลายๆ คนอาจคิดว่างานเสาเข็มเจาะเป็นงานง่ายๆ แต่ ผรม งานเสาเข็มเจาะที่มีความรู้และประสบการณ์นั้นมีอยู่น้อยมากๆ ดังนั้นหากจะว่าจ้างให้ใครมาทำเสาเข็มเจาะให้ก็ควรที่จะดูให้ดีก่อนการตัดสินใจเลือกใช้งานก็จะเป็นการดีนะครับ
- หากทำการเจาะสำรวจดินจะพบว่าชั้นดินของเรานั้นมีลักษณะดังที่ผมได้กล่าวอธิบายไป ดังนั้นหากว่าเป็นไปได้ ทางผู้รับทำการเจาะสำรวจดินอาจจะให้คำแนะนำในเบื้องต้นในรายงานผลการเจาะสำรวจดินไว้สักเล็กน้อยก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรนักนะครับ เพราะ การให้ COMMENTARY ดังกล่าวจะมีประโยชน์มากๆ ต่อทุกๆ ฝ่ายโดยเฉพาะเจ้าของงาน
- หากว่าเราต้องทำการเจาะเสาเข็มลงไปในดินที่มีลักษณะแบบนี้วิธีในการแก้ปัญหาก็ควรที่จะทำอย่างไรก็ได้ครับ ให้การเจาะสามารถที่จะผ่านชั้นดินอ่อนนี้ไปให้ได้
- หากว่าในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ มีการเลือกใช้งานเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ก็จะไม่พบกับปัญหาเช่นนี้อย่างแน่นอนนะครับ
หวังว่าความรู้และประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากและแชร์ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com