การรวมแรงเค้นโดยการแยกประเภทของแรงที่เกิดขึ้นที่แต่ละมุมของหน้าตัดโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

สืบเนื่องจากคำถามที่ผมได้นำมาใช้เป็นคำถามประจำสัปดาห์เกี่ยวกับเรื่องการคำนวณหาขอบเขตของ KERN POINT เมื่อวันเสาร์และวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น มีเพื่อนๆ ของผมหลายท่านเลยได้ฝากคำถามกันเข้ามาว่า หากเค้ายังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้ดีพอและอยากที่จะทำการรวมแรงเค้นหรือ COMBINE STRESS ของรูปโครงสร้างรูปนี้ โดยที่จะไม่อาศัยสมการที่ผมได้ให้ไว้ จะสามารถทำได้หรือไม่ ?

คำตอบก็คือ ได้แน่นอน เพียงแต่ว่าหากทำการคำนวณโดยไม่อาศัยสมการข้างต้น รายการคำนวณก็จะต้องมีความยืดยาวมากออกไปเป็นธรรมดา เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะมาทำการคำนวณให้เพื่อนๆ ได้รับชมเป็นตัวอย่างก็แล้วกัน ทั้งนี้การคำนวณของผมก็ยังคงจะอาศัยรูปแบบของสมการที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกับสมการที่ผมได้ทำการ DERIVE ให้เพื่อนๆ ได้ดูไปเมื่อวันเสาร์นี้อยู่ดีนะครับ

 

โดยเราอาจจะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องทราบเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณก่อน ซึ่งก็อาจจะเริ่มต้นจากค่า Ag ก่อน

 

Ag = B x H

 

Ag = 3 x 5

 

Ag = 15 SQ.M

 

ต่อมาก็คือค่า Sx นะครับ

 

Sx = H x B^(2)/6

 

Sx = 5 x 3^(2)/6

 

Sx = 7.5 M^(3)

 

ต่อมาก็คือค่า Sz นะครับ

 

Sz = B x H^(2)/6

 

Sz = 3 x 5^(2)/6

 

Sz = 12.5 M^(3)

 

ต่อมาเราก็จะเริ่มต้นทำการคำนวณโดยการแทนค่าหาแรงเค้นเนื่องจากแรงแต่ละประเภท โดยอาจจะเริ่มต้นจากแรง P Mx และ Mz และก็จะทำการคำนวณแยกตามตำแหน่งของแรงเค้นออกเป็นที่มุมที่ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับด้วยนะครับ

 

เริ่มต้นจากแรงที่ 1 ก่อน เราจะสามารถทำการคำนวณหาค่าของแรงเค้นที่มุมทั้ง 4 อันเนื่องมาจากแรง P กันก่อน

 

σ1,1 = σ1,2 = σ1,3 = σ1,4 = -P/Ag

 

σ1,1 = σ1,2 = σ1,3 = σ1,4 = -100/15

 

σ1,1 = σ1,2 = σ1,3 = σ1,4 = -6.67 T/SQ.M

 

ต่อมาแรงที่ 2 ก็คือแรงเค้นที่มุมทั้ง 4 อันเนื่องมาจากแรง Mx บ้าง

 

σ2,1 = σ2,2 = – Mx/Sx

 

σ2,1 = σ2,2 = – 40/7.5

 

σ2,1 = σ2,2 = – 5.33 T/SQ.M

 

ดังนั้น

 

σ2,3 = σ2,4 = 5.33 T/SQ.M

 

สุดท้ายก็คือ แรงที่ 3 นั่นก็คือ แรงเค้นที่มุมทั้ง 4 อันเนื่องมาจากแรง Mz บ้าง

 

σ3,1 = σ3,3 = – Mz/Sz

 

σ3,1 = σ3,3 = – 60/12.5

 

σ3,1 = σ3,3 = – 4.80 T/SQ.M

 

ดังนั้น

 

σ3,2 = σ3,4 = 4.80 T/SQ.M

 

สุดท้ายเราก็จะมาทำการคำนวณเพื่อตรวจสอบดูซิว่า แรงเค้นรวมที่มุมที่ 1 2 3 และ 4 นั้นจะออกมามีค่าเท่ากับเท่าใด โดยเราจะเริ่มต้นที่มุมที่ 1 ก่อนนะครับ

 

σ1,1 + σ2,1 + σ3,1 = – 6.67 – 5.33 – 4.80

 

σ1,1 + σ2,1 + σ3,1 = – 16.8 T/SQ.M < 0

 

เมื่อค่าแรงเค้นรวมนั้นมีค่าน้อยกว่า ศูนย์ ดังนั้นแรงเค้นรวมที่มุมที่ 1 ก็จะเป็น COMPRESSIVE STRESS ครับ

 

ต่อมาก็คือมุมที่ 2 บ้าง

 

σ1,2 + σ2,2 + σ3,2 = – 6.67 – 5.33 + 4.80

 

σ1,2 + σ2,2 + σ3,2 = – 7.20 T/SQ.M < 0

 

เมื่อค่าแรงเค้นรวมนั้นมีค่าน้อยกว่า ศูนย์ ดังนั้นแรงเค้นรวมที่มุมที่ 2 ก็จะเป็น COMPRESSIVE STRESS ครับ

 

ตามมาด้วยมุมที่ 3 ต่อ

 

σ1,3 + σ2,3 + σ3,3 = – 6.67 + 5.33 – 4.80

 

σ1,3 + σ2,3 + σ3,3 = – 6.14 T/SQ.M < 0

 

เมื่อค่าแรงเค้นรวมนั้นมีค่าน้อยกว่า ศูนย์ ดังนั้นแรงเค้นรวมที่มุมที่ 3 ก็จะเป็น COMPRESSIVE STRESS ครับ

 

สุดท้ายก็คือ มุมที่ 4 ครับ

 

σ1,4 + σ2,4 + σ3,4 = – 6.67 + 5.33 + 4.80

 

σ1,3 + σ2,3 + σ3,3 = + 3.46 T/SQ.M > 0

 

ซึ่งสุดท้ายแล้วก็จะเห็นได้ว่า ที่มุมที่ 4 นั้นก็จะแสดงผลลัพธ์ว่า ค่าแรงเค้นรวมนั้นมีค่ามากกว่า ศูนย์ ดังนั้นแรงเค้นรวมที่มุมที่ 4 ก็จะเป็น TENSILE STRESS นะครับ

 

ซึ่งนี้เองก็จะมีความสอดคล้องกันกับสมการที่ผมได้ทำการ DERIVE ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับชมไปก่อนหน้านี้นั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#การรวมแรงเค้นโดยการแยกประเภทของแรงที่เกิดขึ้นที่แต่ละมุมของหน้าตัดโครงสร้าง

#โพสต์ตอนที่4

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com