สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ
วันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามของน้องผู้หญิงท่านหนึ่งซึ่งน้องท่านนี้กำลังเรียนอยู่ในระดับปริญญาตรีของสาขาวิศวกรรมโยธาในมหาวิทยาลัยมีชื่อแห่งหนึ่ง โดยที่น้องได้ฝากคำถามเข้ามาทางอินบ็อกซ์ส่วนตัวของผมโดยมีใจความของคำถามดังต่อไปนี้ครับ
“ทำไมตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเสาตอม่อกับคาน คอร เหมือนในรูปๆ นี้จึงมักที่จะมีการทำเป็นช่องว่างเอาไว้คะ เหมือนเอาอะไรมาหนุนเอาไว้ ไม่ทราบว่าจุดประสงค์นั้นเพื่อทำให้จุดรองรับนี้เป็นแบบ ROLLER หรือเปล่าคะ ? และเหตุใดเค้าจึงต้องยกขึ้นนิดนึงด้วยคะ ?”
ซึ่งผมก็ได้อธิบายไปในเบื้องต้นแล้วแต่คิดว่าน่าจะเป็นการดีหากผมจะทำการอธิบายและขยายความให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั้นได้รับทราบไปพร้อมๆ กันด้วย ดังนั้นในวันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับว่า เพราะเหตุใดรอยต่อระหว่างเสาตอม่อกับคาน คอร นั้นจึงมีการทำเป็นช่องว่างเอาไว้นะครับ
สาเหตุที่รอยต่อระหว่างเสาตอม่อกับคาน คอร นั้นมีการทำเป็นช่องว่างเอาไว้ก็เพราะในการก่อสร้างงานโครงสร้างสะพานหรือโครงสร้างประเภทนี้มักที่จะอาศัยกรรมวิธีแบบโครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จหรือ PRE-CAST CONCRETE STRUCTURE โดยจะเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงสร้างคอนกรีตอัดแรงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้นขั้นตอนของการก่อสร้างจึงเป็นการนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ ที่ทำการหล่อเอาไว้แยกส่วนกันนำมาประกอบรวมกันที่หน้างาน จึงทำให้กรรมวิธีในการยึดและติดตั้งโครงสร้างดังกล่าวนั้นต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันด้วย ซึ่งช่องว่างตรงนี้เค้ามักที่จะทำเอาไว้ก็เพื่อที่จะใส่ “แผ่นยางรองคอสะพาน” หรือ “BEARING PAD” นั่นเองครับ
โดยที่ส่วนใหญ่นั้นเจ้าแผ่นยางรองคอสะพานนั้นมักที่จะทำขึ้นจากวัสดุประเภทยาง ซึ่งสาเหตุที่มักจะใช้ติดตั้งบนตอม่อของสะพานก็เพื่อให้ช่วยรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกต่างๆ ที่อาจจะถูกถ่ายต่อลงมาโครงสร้างส่วนบน โดยบางครั้งเจ้าแผ่นยางรองคอสะพานนี้ก็จะเป็นแบบมีไม่มีและมีวัสดุเสริมแรงด้วย ทั้งนี้แผ่นยางรองคอสะพานนั้นมักจะถูกผลิตออกมาตามมาตรฐานของกรมทางหลวง มาตรฐาน มอก. 951-2533 หรือมาตรฐาน AASHTO และมาตรฐาน BS-5400 ซึ่งการใช้งานโดยทั่วๆ ไปนั้นก็อาจจะได้แก่ สะพานทั่วๆ ไป สะพานข้ามทางแยก สะพานลอย สะพานคนเดินข้าม สะพานทางแยกยกระดับ สะพานสำหรับระบบราง เป็นต้นครับ
ส่วนคำถามของน้องที่ถามเข้ามาว่าจุดประสงค์นั้นเพื่อทำให้จุดรองรับนี้เป็นแบบ ROLLER หรือเปล่า ผมคงต้องตอบแบบนี้ว่า ผู้ออกแบบสามารถที่จะทำการออกแบบให้แผ่นยางรองคอสะพานนั้นรองรับการเกิดการเสียรูปได้หลายรูปแบบเลย โดยที่ผู้ออกแบบจะเลือกให้แผ่นยางรองคอสะพานนั้นเกิดการเสียรูปแบบรอบตัวเองหรือ ROTATIONAL DISPLACEMENT ก็ได้หรือจะเป็นการเสียรูปทางด้านข้างหรือ LATERAL DISPLACEMENT ก็ยังได้ ดังนั้นแผ่นยางรองคอสะพานจริงๆ แล้วจึงมีอยู่ด้วยหลากหลายรูปแบบเลย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งานเป็นสำคัญ เช่น ROLLER BEARING หรือ SLID BEARING หรือ POT BEARING เป็นต้น รวมถึงวัสดุสำหรับใช้ในการทำแผ่นยางรองคอสะพานก็จะมีความแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น บางประเภทก็จะทำจากโลหะหรือทำจากพลาสติกสังเคราะห์หรือยางสังเคราะห์และรวมถึงยางธรรมชาติก็ยังมี ซึ่งรูปแบบของเจ้าแผ่นยางรองคอสะพานและชนิดของวัสดุที่ใช้ในการทำก็จะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปด้วยครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้เรื่องแผ่นยางรองคอสะพาน
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com