ระยะห่างระหว่างแผ่นเหล็กกับโครงสร้างฐานคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เพื่อนๆ อาจจะสงสัยว่าเพราะเหตุใดช่วงนี้ผมมักจะพูดถึงเรื่องราวต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณเยอะนิสนึง นั่นเป็นเพราะชุดคำถามที่ผมได้นำเอามาโพสต์ในช่วงนี้จะมาจากการตั้งคำถามของน้องผู้หญิงท่านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ ซี่งผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมาทยอยตอบให้ ดังนั้นผมเชื่อว่าเรื่องราวในวันนี้น่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อน้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกคนด้วยนั่นก็คือ

“หนูสังเกตเห็นว่าหลสายๆ ครั้งที่บริเวณใต้แผ่นเหล็กหรือ BASE PLATE ที่จะยึดด้วยสลักเกลียวแบบฝังยึดหรือ ANCHOR BOLT นั้นจะถูกทำไว้โดยมีช่องว่างอยู่ ซึ่งช่องว่างตรงนี้จะไม่มีการเติมด้วย NON-SHRINK GROUT เหมือนกับที่พี่เคยได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ หนูอยากจะรบกวนสอบถามพี่ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องมีการทำให้มีช่องว่างตรงนี้ค่ะ ?”

ซึ่งผมก็ได้ตอบไปในเบื้องต้นแล้วแต่ต้องถือว่าคำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ดีนะ เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาประเด็นๆ นี้มาตอบให้น้องท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกคนก็แล้วกันนะครับ


เจ้าช่องว่างนี้มีชื่อเฉพาะที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างเหล็กรูปพรรณว่า STANDOFF DISTANCE หรือบางครั้งเราก็อาจจะเรียกระยะนี้ได้ว่า EXPOSED LENGTH ก็ได้ โดยที่ผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 1 และ 2 ประกอบซึ่งจุดประสงค์ของการที่ผู้ออกแบบนั้นกำหนดให้มีเจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นเป็นเพราะว่า ในโครงสร้างเสาที่จะถูกยึดลงไปบนฐานที่ทำจากคอนกรีตนั้นจะมีค่าแรงกระทำในแนวราบหรือ LATERAL FORCE และค่าแรงดัดหรือ MOMENT FORCE ที่มีค่าสูงมากกว่าปกติเพราะว่าระยะห่างที่เกิดขึ้นจากการที่เราทำการเว้นเอาไว้ให้เกิดระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นจะทำหน้าที่เสมือนแขนของแรงหรือ LEVER ARM โดยที่ผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 3 ประกอบคำอธิบายด้วย กล่าวคือยิ่งเราทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้มีค่ามากเท่าใด ก็จะเป็นการช่วยลดภาระของค่าแรงดึงหรือ TENSION FORCE ที่จะเกิดขึ้นในตัวของสลักเกลียวแบบฝังยึดได้มากเท่านั้นนะครับ

 


ผมขอให้เพื่อนๆ ดูรูปที่ 4 ประกอบคำอธิบายด้วยนะ เราจะเห็นได้จากรายการคำนวณในรูปๆ นี้ว่ายิ่งเราทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้มีค่ามากเท่าใด ก็จะทำให้ค่าแรงดึงที่จะต้องรับไปโดยสลักเกลียวแบบฝังยึดนั้นมีค่าที่น้อยลงไป ซึ่งตามปกติแล้วใช่ว่าผู้ออกแบบจะสามารถทำการกำหนดให้เจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นั้นมีค่ามากๆ ชนิดที่ไม่มีขอบเขตใดๆ เลยมาจำกัดระยะดังกล่าวได้นะ ดังนั้นเมื่อใดที่เราต้องทำการออกแบบเจ้าระยะ STANDOFF DISTANCE นี้เราก็จะต้องทำการตรวจสอบค่าพิกัดอื่นๆ ร่วมด้วยว่าอยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้หรือเปล่าด้วยเสมอนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอังคาร
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#ความรู้เรื่องระยะห่างระหว่างแผ่นเหล็กกับโครงสร้างฐานคอนกรีต
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com