สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
วันนี้ผมจะมาอธิบายแก่เพื่อนๆ รวมถึงรุ่นน้องท่านหนึ่งที่กำลังจะทำงานวิจัยในระดับ ป ตรี ส่งทางภาควิชาเพื่อที่จะจบและสำเร็จการศึกษา เพราะ น้องเค้าตั้งใจอยากที่จะทำทางด้าน งานกำแพงกันดินชนิดที่มีการรับแรงกระทำโดยเสาเข็ม
จากที่ผมได้คุยกันกับน้องท่านนี้ไปเมื่อหลายวันก่อนที่น้องปรึกษาพี่เรื่องการออกแบบระบบกำแพงกันดินโดยใช้วิธีการตอกเสาเข็ม และ ทำการสอดแผ่นสำเร็จรูปเพื่อที่จะทำหน้าที่ถ่ายแรงกระทำทางด้านข้างจากมวลดิน รวมไปถึง นน SURCHARGE ต่างๆ ให้เข้าไปที่ตัวของโครงสร้างเสาเข็ม
ซึ่งผมได้อธิบายกับน้องท่านนี้ไปว่าสำหรับกรณีการรับ นน ของเสาเข็มแบบนี้จะเป็นการรับแรงกระทำทางด้านข้าง จะมิใช่การรับรับแรงกระทำตามแนวแกนเหมือนที่น้องเคยเรียนมาในวิชา RC DESIGN นะครับ
ผมจึงอยากที่จะทำการอธิบายแก่น้องโดยอาศัยรูปภาพสักเล็กน้อยเพื่อเป็นการอธิบายถึงหลักการในการถ่าย นน ของกำแพงกันดินชนิดนี้ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อน้องท่านนี้ และ เพื่อนๆ ท่านอื่นๆ ที่สนใจด้วยนะครับ
ในรูปจะเห็นว่ากำแพงกันดินชนิดนี้จะประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วนหลักๆ คือ
(1) แผ่นกันดิน
(2) เสาเข็มรับแรงทางด้านข้าง
แผ่นกันดินในที่นี้จะทำหน้าที่รับแรง LATERAL LOAD ในลักษณะที่เป็น UN-UNIFORM DISTRIBUTED LOAD เพราะ แรงดันของ ดิน และ นน อื่นๆ ที่กระทำบนแผ่นกันดินนี้จะเป็น FUNCTION ที่แปรผันต่อค่าความลึก H ของกำแพง กล่าวคือ ยิ่งความลึกมากเท่าใด แรงกระทำก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งตัวแผ่นกันดินนี้เรานิยมใช้เป็นโครงสร้างสำเร็จรูป ทั้งนี้ก็เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาใช้ในการก่อสร้าง แต่ น่าเสียดายที่ช่างในบ้านเรามักจะไม่เข้าใจกระบวนการทำงานจริงๆ เพราะ มักจะใช้ขนาดเท่ากันหมดในทุกๆ โครงการก่อสร้าง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วไม่จำเป็นจะต้องทำแบบนั้น เราสามารถที่จะแปรผันขนาดความหนา รวมไปถึงรายละเอียดการเสริม เหล็ก หรือ ลวด ในโครงสร้างเหล่านี้ได้ ซึ่งหลายๆ ครั้งจะพบว่าช่างมักจะทำตามความเคยชินเสียเป็นส่วนใหญ่
สำหรับเสาเข็มก็จะทำหน้าที่รับแรงปฎิกิริยาทางด้านข้างที่เป็น LATERAL LOAD จากแผ่นกันดินมาในลักษณะ UNIFORM LOAD ที่กระทำบนด้านหลังของเสาเข็ม และ จะทำหน้าที่ในการถ่าย นน ดังกล่าวนี้ส่งต่อลงไปยังดินนั่นเอง
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโครงสร้างทั้ง 2 ส่วนนี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการออกแบบกำแพงกันดินทั้งสิ้น แตกต่างกันที่ หน้าที่ และ ชนิด ของ นน บรรทุกที่แต่ละโครงสร้างจะต้องรับ และ จะรวมไปถึงกระบวนการในการถ่ายแรงทางด้านข้างนี้ลงไปยังดินด้วย โดยจะเห็นว่าหน้าที่ของเสาเข็มที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับดครงสร้า่งประเภทนี้ คือ รับแรงกระทำทางด้านข้าง (LATERAL LOAD) ที่เกิดขึ้น และ สร้างเสถียรภาพทางด้านข้าง (LATERAL STABILITY) ให้แก่กำแพงกันดิน ดังนั้นโครงสร้างเสาเข็มพวกนี้จะมีหน้าตาคล้ายๆ กันกับเสาเข็มทั่วๆ ไปที่เราใช้ในการออกแบบให้ต้องรับแรงกระทำตามแนวแกนนะครับ แต่ จะแตกต่างที่รายละเอียดการเสริมด้วย เหล็ก และ ลวดอัดแรง ข้างใน เพราะลักษณะของพฤติกรรมของโครงสร้างเสาเข็มที่จะต้องทำหน้าที่ในการรับแรงตามแนวแกน และ แรงกระทำทางด้านข้างนั้นจะมีความแตกต่างกันมากพอสมควรเลย เมื่อเราจะทำการออกแบบกำแพงกันดินชนิดนี้ และ เราจะเลือกใช้งานเสาเข็มรับแรงทางด้านข้าง เราจึงมักที่จะต้องทำการออกคำสั่งไปยังผู้ผลิตเสาเข็มว่าเราต้องการนำมาใช้สำหรับรับแรงทางด้านข้าง และ ทำการกำหนดรายละเอียดภายในเสาเข็มเหล่านี้ ให้มีความพิเศษแตกต่างออกไปจากกรณีเสาเข็มรับแรงตามแนวแกนทั่วๆ ไป
“ขออวยพรให้น้องท่านนี้โชคดีในการทำ THESIS ป ตรี เพื่อที่จะสอบจบด้วยนะครับ” 😳
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะ
ADMIN JAMES DEAN