สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ
โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ
จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นกรณีของการที่เราต้องการที่จะทำการปิดช่องว่างระหว่างโครงสร้างคานซึ่งทำหน้าที่รับพื้นชั้นล่างกับดินเดิม ซึ่งหากตัวเลือกในการก่อสร้างคือ
(A) ก่อผนังใต้คานโดยตรงโดยทำให้ผนังนี้้วางตัวอยู่บนโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนดิน
(B) ก่อผนังใต้คานโดยตรงแต่จะทำให้ผนังนี้วางตัวอยู่บนโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนเสาเข็มแทน
(C) ทำเป็นโครงสร้างห้อยตัวลงมาจากคานซึ่งเป็นโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนเสาเข็ม
คำถามก็คือ เพื่อนๆ จะเลือกวิธีในการทำงานในรูปแบบใด ที่จะเป็นการประหยัด มีความคงทน ไม่ต้องพบเจอกับความยุ่งยากในขั้นตอนของการดูแลรักษาและจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการใช้งาน
#ปัญหากรณีของการปิดช่องว่างระหว่างคานรับพื้นชั้นล่างกับดินเดิม
คำตอบ
เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาค่อยๆ ทำการคำนวณง่ายๆ เพื่อหาคำตอบของคำถามในข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ
(1) เริ่มจากกรณีของข้อ A ก่อน ซึ่งเป็นการก่อผนังใต้คานโดยตรงโดยทำให้ผนังนี้วางตัวอยู่บนโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนดินและผลจากการทำเช่นนี้ก็จะแทบจะไม่ได้มีความแตกต่างออกไปจากรูปที่ผมได้นำเอามาหยิบยกเป็นตัวอย่างเท่าใดนักเพราะอย่างไรเสียผนังก่ออิฐที่ใช้ปิดช่องว่างนี้ก็ถูกวางตัวอยู่บนโครงสร้างวางบนดิน ดังนั้นไม่ช้าไม่นานดินที่เคยใช้รองรับน้ำหนักของผนังอิฐก่อนี้ก็จะค่อยๆ ทรุดตัวลงไปในที่สุด ทำให้ในที่สุดเพื่อนๆ ก็จะต้องมาคอยบำรุงรักษาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้อยู่ดี ดังนั้นข้อนี้จึงไม่น่าจะเป็นคำตอบของปัญหาข้อนี้นะครับ
(2) มาต่อกันที่กรณีของข้อ B กันบ้าง ซึ่งเป็นการก่อผนังใต้คานโดยตรงแต่จะทำให้ผนังนี้วางตัวอยู่บนโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนเสาเข็มแทนและในเมื่อผนังอิฐก่อนั้นวางตัวอยู่บนโครงสร้างคานซึ่งเป็นโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนเสาเข็ม นั่นก็หมายความว่าเจ้าผนังอิฐก่อก็จะไมเสียหายจากการทรุดตัวซึ่งจะแตกต่างออกไปจากกรณีของข้อ A แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเมื่อวัสดุที่เรานำมาใช้ปิดช่องว่างนั้นเป็นผนังอิฐก่อซึ่งถือได้ว่าเป็นวัสดุทางด้านงานสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่ง ไม่ช้าไม่นานผนังชุดนี้ก็ยังมีโอกาสที่จะเสียหายได้อยู่ถึงแม้ว่าจะเป็นความเสียหายที่เล็กๆ น้อยมากๆ พูดง่ายๆ คือไม่ใช่ปัญหาอะไรที่น่ารำคาญใจนัก โดยที่การตัดสินใจที่จะทำการซ่อมแซมหรือไม่ซ่อมแซมผนังอิฐก่อนั้นก็แทบจะไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ซึ่งข้อนี้ก็ยังถือว่าไม่ผ่ายเกณฑ์ข้อกำหนดของคำถามที่ว่าเราจะใช้วิธีการใดที่จะเป็นการประหยัด ที่จะมีความคงทน จะได้ไม่ต้องพบเจอกับความยุ่งยากในขั้นตอนของการดูแลรักษาและจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการใช้งาน ดังนั้นในข้อนี้ก็ยังไม่น่าจะเป็นคำตอบของปัญหาข้อนี้ครับ
(3) มาพิจารณากันถึงกรณีสุดท้ายนั่นก็คือข้อ C ซึ่งเป็นการทำเป็นโครงสร้างนั้นห้อยตัวลงมาจากคานซึ่งเจ้าโครงสร้างๆ นี้เป็นโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนเสาเข็ม ผลจากการทำเช่นนี้ก็จะเป็นการชดเชยจุดด้อยของข้อ B เพราะแน่นอนว่าชิ้นส่วนที่ทำขึ้นโดยวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นงานโครงสร้างโดยตรงเลยก็ย่อมที่จะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าชิ้นส่วนที่ทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นงานสถาปัตยกรรม ส่วนเรื่องความประหยัดเรามาดูวิธีการทำงานในข้อ B เพราะเราจะต้องทำการตั้งแบบเพื่อทำการเทงานโครงสร้างคานอย่างน้อย 2 ครั้ง หลังจากนั้นก็มาทำการก่ออิฐ ฉาบปูนและทาสี ส่วนในข้อ C ก็ต้องทำการตั้งแบบ 2 ครั้งเช่นกันเพียงแต่เป็นแบบคานและแบบผนัง พอเสร็จแล้วก็ฉาบปูนและทาสีเช่นกัน ดังนั้นหากจะพูดเรื่องความประหยัดก็ต้องเทียบกันที่ปริมาณของวัสดุที่ใช้ ซึ่งแน่นอนว่าข้อ B นั้นจะใช้ปริมาณของวัสดุที่มากกว่าเพราะจะใช้ทั้งคอนกรีตและอิฐก่อ ซึ่งข้อ C จะใช้แค่คอนกรีตเพื่อใช้เทเป็นแผ่นผนังบางๆ ก็เท่านั้นเอง ดังนั้นผมจึงมองว่าสำหรับกรณีๆ นี้วิธีการตามข้อ C จะมีความประหยัดมากกว่า ดังนั้นในข้อนี้จึงน่าที่จะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของปัญหาข้อนี้ครับ
สรุปก็คือกรณีในข้อ C ทำเป็นโครงสร้างห้อยตัวลงมาจากคานซึ่งเป็นโครงสร้างที่วางตัวอยู่บนเสาเข็มดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจากบรรดาทั้ง 3 ตัวเลือกที่มีนั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#ตอบปัญหากรณีของการปิดช่องว่างระหว่างคานรับพื้นชั้นล่างกับดินเดิม
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586
🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com